ชีวิตของคนที่เรียกตัวเองว่า “ผู้จัดการกองทุน” (ภาค 1)

แชร์บทความนี้

บทความนี้เขียนโดย คุณ ณสุ จันทร์สม,CFA. ผู้จัดการกองทุนหุ้นระดับแนวหน้าของเมืองไทยคนหนึ่งที่ผมเคยมีโอกาสได้ร่วมงานด้วยครับ ชอบมากเลยขออนุญาตนำมาลงครับ

 

มี ความเข้าใจกันอย่างทั่วไปว่า การเป็นผู้จัดการกองทุน หรือ Fund Manager เป็นสิ่งที่น่าสนใจและเป็นหนึ่งในสาขาอาชีพที่เป็นที่คาดหวังของนักเรียน สาขาการเงินหลายๆคน สำหรับเหตุผลคงหนีไม่พ้นว่า ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่จะมีโอกาสได้บริหารเงินที่มีจำนวนมาก มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลมากมายซึ่งใช้ประกอบการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามการเป็นผู้จัดการกองทุนก็มีข้อที่ควรระวัง ผู้เขียนขอสรุปประเด็นข้อดีและข้อควรระวังของการเป็นผู้จัดการกองทุนเพื่อ เป็นข้อคิดดังนี้

 

สำหรับข้อดีของการเป็นผู้จัดการกองทุน นอกจากการมีโอกาสที่ได้บริหารเงินค่อนข้างเยอะ (แต่ไม่ใช่เงินของตนเอง) คงหนีไม่พ้นการได้มีโอกาสพบปะกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนฯต่างๆ การได้เข้าถึงทำให้สามารถทราบถึงวิสัยทัศน์ของคนในระดับผู้นำในแต่ละอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโอกาสที่นักลงทุนทั่วไปส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสนี้ เหตุผลที่ได้เข้าพบก็เนื่องมาจากผู้จัดการกองทุนถือได้ว่าเป็นนักลงทุน สถาบันและมีอำนาจในการตัดสินใจจะซื้อจะขายหลักทรัพย์ใดๆได้ สำหรับข้อดีอื่นๆของการเป็นผู้จัดการกองทุน ซึ่งถือว่าเป็นนักลงทุนสถาบัน ก็คือการมีโอกาสที่จะได้รับข้อมูลที่กว้างขวางจากโบรกเกอร์ต่างๆเกือบจะทุกแห่ง เนื่องจากโบรกเกอร์ทุกแห่งคงอยากได้การยอมรับจากผู้จัดการกองทุน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นโอกาสที่จะได้รับค่าธรรมเนียมการซื้อขาย (Brokerage Commission) ก็จะมีมากขึ้น หากจะสรุปสั้นๆก็อาจกล่าวได้ว่าผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่จะมีแต่คนเอาใจ จึงมีผู้จัดการกองทุนบางคนอาจหลงลืมไปว่าหน้าที่ที่แท้จริงของเค้าคืออะไร จริงจริงก็เป็นคนที่นักลงทุนฝากความหวังว่าจะสามารถช่วยนำมาซึ่งผลตอบแทนที่ดีให้นักลงทุนได้อย่างต่อเนื่องเท่านั้นเอง



สำหรับข้อควรระวังของการเป็นผู้จัดการกองทุนก็มีอยู่ไม่น้อย สิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความ คาดหวัง (Expectation) ของนักลงทุน ทั้งในด้านผลตอบแทนและความเสี่ยง ผู้จัดการกองทุนต้องตระหนักเสมอว่า เงินที่ลงทุนอยู่นั้นไม่ใช่เงินของตนเอง เงินที่นำมาลงทุนส่วนมากเป็นเงินที่นักลงทุนเก็บออมมาด้วยความยากลำบาก ส่วนใหญ่เพื่อใช้ในยามเกษียณ หรือเพื่อสำหรับการศึกษาของบุตรธิดาของนักลงทุนนั้น ความคาดหวังจึงมีค่อนข้างสูง หากผู้จัดการกองทุนไม่สามารถทำได้ตามความคาดหวังที่ตกลงกับนักลงทุนในตอน เริ่มต้น ผู้จัดการกองทุนก็คงต้องเผชิญกับผลลัพธ์ที่ยากลำบากในการอธิบายให้กับผู้ลง ทุนเข้าใจ หากไม่เข้าใจก็อาจรุนแรงถึงการสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การงาน ซึ่งมีให้เห็นอยู่ทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นผู้ จัดการกองทุนต้องมีเหตุผลในการลงทุนทุกครั้ง เพื่อในยามที่ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดหวังผู้จัดการกองทุนสามารถตรวจเช็ค แก้ไขและอธิบายได้ว่าเกิดจากจุดใดและเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำในภายภาคหน้า
จาก การที่เป็นที่คาดหวังของนักลงทุนว่าจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่ดี ผู้จัดการกองทุนจึงต้องทำงานหนัก อาจกล่าวได้ว่าหนักกว่าเพื่อการลงทุนเงินของตัวเองเสียอีก การทำการบ้านจึงเป็นสิ่งสำคัญ งาน หลักของผู้จัดการกองทุนคือการเข้าเยี่ยมชมบริษัท Company Visit จากนั้นต้องกลับมาทำการวิเคราะห์อย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจว่าเงินที่จะนำไป ลงทุนในบริษัทนั้นๆ จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนได้ ส่วนตัวของผู้เขียน หากไม่ได้พบกับผู้บริหารระดับสูงหรือคนที่มีอำนาจในการตัดสินใจว่าบริษัทจะ เดินไปในทิศทางใด ก็ขอเลือกที่จะไม่ลงทุนในบริษัทนั้นๆ เพราะสิ่งที่นักลงทุนสถาบันมีเหนือกว่านักลงทุนทั่วไปก็คือการมีโอกาสได้ เข้าพบผู้บริหารระดับสูง (Access to Management) หากไม่ใช้สิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์ก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นการรับจ้างลงทุนโดย ใช้ความรู้สึกอย่างเดียวและอาจทำงานไม่คุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมการจัดการที่ ผู้จัดการกองทุนนั้นได้รับมา

นอก จากนั้น กว่าจะมาเป็นผู้จัดการกองทุนได้นั้น เส้นทางก็ถือว่ายากพอสมควร กล่าวคือบุคคลนั้นๆต้องได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งต้องตรวจสอบว่าคนคนนั้นมีจรรยาบรรณที่ดีพอหรือไม่ การมีความรู้ความสามารถก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือผู้จัดการกองทุนต้องผ่านการสอบ Chartered Financial Analyst (CFA) หรือ Certified Investment and Securities Analyst Program (CISA) ซึ่งการสอบดังกล่าวจะเป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และบริหารการ ลงทุน โดยเนื้อหาจะครอบคลุมถึงการวัดความสามารถในการประเมินค่าสินทรัพย์เพื่อใช้ ประกอบการพิจารณาลงทุน ประเมินความเสี่ยงและผลตอบแทน รวมทั้งเปรียบเทียบการลงทุนในรูปแบบต่างๆ โดยเนื้อหาหลักๆ จะประกอบด้วย จรรยาบรรณ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Ethical & Professional Standards), เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน (Investment Tools), การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ (Asset Valuation), การบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน (Portfolio Management) ถึงจะมีหัวข้อใหญ่ๆไม่กี่หัวข้อ แต่ต้องขอบอกก่อนเลยว่าไม่ง่ายเลยที่จะสามารถทำความเข้าใจและนำมาใช้งานได้ ทั้งหมด มีผู้จัดการกองทุนหลายคนรวมถึงตัวผู้เขียน กว่าจะผ่านการทดสอบต่างๆก็ใช้เวลาแรมปี ถ้าต้องทำอีกครั้งอาจจะขอยอมแพ้ไปเลยด้วยซ้ำ

สรุป – มี ข้อดีและข้อควรระวังเยอะสำหรับการเป็นผู้จัดการกองทุน หรือที่รู้จักกันว่า Fund Manager เป็นภาระที่หนักหน่วงเอาการเมื่อถึงเวลาต้องเอาเงินของคนอื่นมาบริหาร…เชื่อผู้จัดการกองทุนคนนี้เถอะครับ

 

โดย คุณ ณสุ จันทร์สม, ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บลจ.อยุธยา จำกัด
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ฉบับวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top