CareerTalk – สู่เส้นทางมืออาชีพด้านการลงทุนกับคุณวุฒิ CISA: Certified Investment & Securities Analyst

แชร์บทความนี้

ผู้ที่อยู่ในสายงานด้านการลงทุนคงจะคุ้นหูกับคุณวุฒิ CFA หรือ Certified Financial Analyst ซึ่งเป็นใบเบิกทางที่สำคัญในระดับสากลสำหรับการเติบโตในสายงานการเงินการลงทุน หรือแม้แต่การกระโดดข้ามมาจากสายอาชีพอื่น

อย่างไรก็ดี ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หน่วยงานด้านตลาดทุนของประเทศไทยได้พัฒนาหลักสูตรวิชาชีพด้านการลงทุนฉบับของเราเองขึ้นมา โดยอิงกับโครงสร้างหลักสูตร CFA เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ที่ได้รับคุณวุฒินี้จะมีองค์ความรู้ทัดเทียมได้กับระดับสากล โดยหลักสูตรนี้มีชื่อว่า Certified Investment & Securities Analyst Program หรือ CISA (ซีซ่า)

1) CISA คืออะไร?

CISA เป็นหลักสูตรวิชาการด้านการเงินการลงทุนที่พัฒนาขึ้นโดย สถาบันพัฒนาความรู้ตลาดทุน (Thailand Securities Insititute) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งใจให้ผู้ศึกษาและผ่านการทดสอบมีความสามารถในการวิเคราะห์และบริหารการลงทุน ทั้งในภาพรวมและรายละเอียด สามารถประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ตลอดจนความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อการตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีคุณภาพ ตลอดจนเข้าใจหลักปฏิบัติและจรรยาบรรณในวิชาชีพของตน

หลักสูตร CISA จะประกอบไปด้วยเนื้อหาวิชาและการทดสอบ 3 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะประกอบไปด้วยองค์ความรู้ 4 ด้านที่เหมือนกัน คือ

1. จรรยาบรรณ และมาตรฐานการปฏิบัติงาน (Ethical & Professional Standards)
2. เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน (Investment Tools)
3. การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ (Asset Valuation)
4. การบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน (Portfolio Management)

2) เนื้อหาวิชาการและหัวข้อการทดสอบหลักสูตร CISA ในแต่ละระดับมีอะไรบ้าง?

○ CISA Level I

เน้นความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน ตลอดจนจรรยาบรรณ ระเบียบข้อบังคับ และหลักปฏิบัติในวิชาชีพ

1. จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
– จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
– มาตรฐานการวัดการดำเนินงานระดับสากล
– แนวทางปฏิบัตสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน
– กฎหมายไทย

2. เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน
– เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
– การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
– การวิเคราะห์งบการเงิน
– การเงินธุรกิจ

3. การประเมินมูลค่าสินทรัพย์
– ตลาดหลักทรัพย์
– การลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ และตราสารอนุพพันธ์
– การลงทุนในทางเลือกอื่น

4. การบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน
– ทฤษฏีตลาดทุน

○ CISA Level II

เน้นการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ และการนำเนื้อหาจาก Level I มาประยุกต์ใช้

1. จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
– จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงานขั้นสูง

2. เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน
– เศรษฐศาสตร์เพื่อการประเมินมูลค่า
– การวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการประเมินมูลค่าสินทรัพย์
– การวิเคราะห์งบการเงินขั้นสูง
– การเงินธุรกิจขั้นสูง

3. การประเมินมูลค่าสินทรัพย์
– แนวคิดเบื้องต้นในการประเมินมูลค่า
– การวิเคราะห์การลงทุนในตราสารทุน: การวิเคราะห์อุตสาหกรรมและแบบจำลองในการประเมินมูลค่า
– การวิเคราห์การลงทุนในตราสารหนี้: การประเมินมูลค่าและ Structured Securities
– การวิเคราะห์การลงทุนในตราสารอนุพันธ์

4. การบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน
– ทฤษฏีตลาดทุนและกระบวนการบริหาร Portfolio

○ CISA Level III

ในภาพรวมจะเน้นการบริหาร Portfolio

1. จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงาน
– จรรยาบรรณและมาตรฐานการปฏิบัติงานขั้นสูง

2. เครื่องมือเพื่อการวิเคราะห์การลงทุน
– การเงินเชิงพฤติกรรม
– เศรษฐศาสตร์สำหรับการบริหาร Portfolio
– การคาดการณ์ตลาดทุนในการบริหาร Portfolio

3. การประเมินมูลค่าสินทรัพย์
– การวิเคราะห์ขั้นสูง สำหรับการลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ ตลอดจนการลงทุนในทางเลือกอื่น

4. การบริหารกลุ่มสินทรัพย์ลงทุน
– นโยบายการลงทุน สำหรับนักลงทุนรายย่อย และนักลงทุนสถาบัน
– การจัดสรรสินทรัพย์ และการบริหารความเสี่ยง
– กลยุทธ์การบริหาร Portfolio
– การประเมินผลการบริหาร Portfolio และมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานระดับสากล

โดยมีรายละเอียดการทดสอบในแต่ละระดับดังนี้

* รวมราคาจากหนังสือ 12 เล่ม (อีก 1 เล่มยังไม่มีจำหน่าย)

หมายเหตุ:
– Level III มีตำราเตรียมสอบ CFA ให้เลือกอ่านได้จากหลายค่าย เช่น  Kaplan Schweser และ Stalla
– ข้อสอบใน Level III มีทั้งปรนัย (ตัวเลือก) และอัตนัย (เขียนตอบ) ส่วน Level I และ II เป็นปรนัยทั้งหมด

3) สอบผ่าน CISA แล้วได้อะไร?

ในมุมมองของผู้เขียน เห็นว่าผู้ที่สอบผ่านแต่ละระดับ
– จะมีความรู้ทางวิชาการที่จำเป็นในการบริหารเงินลงทุนของตนเอง จากขั้นพื้นฐานไปถึงระดับสูง
– จะมีความรู้ในการบริหาร Portfolio ในรูปของกองทุนรวม ทั้งในเชิงทฤษฎีและการบริหารจัดการจริง
– จะสามารถขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน กลต.) เพื่อทำงานในตำแหน่งที่สำคัญในสายการเงิน ดังนี้

(แหล่งข้อมูลอ้างอิง: http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1031&Itemid=712)

4) CISA ต่างจาก Certified Financial Analyst (CFA) อย่างไร?

5) กำหนดการทดสอบ CISA ในปี 2553 เป็นอย่างไร?

– Level I: 25 ก.ย. และ 18 ธ.ค.
– Level II: 18 ธ.ค.
– Level III: 26 ธ.ค.

(เมื่อก่อนจะสอบรอบละ 2 วัน แต่ปัจจุบันย่นระยะเวลาเหลือเพียง 1 วัน)

6) ควรเตรียมตัวสอบ CISA อย่างไร?

– เตรียมใจ: เนื่องจากปริมา๊ณเนื้อหามีจำนวนมาก ซึ่งอาจต้องทุ่มเทเวลานอกเวลาทำงานเกือบทั้งหมดให้กับการอ่านหนังสือและืืทำตัวอย่างข้อสอบ
– เตรียมตัว: ศึกษาหัวข้อการสอบว่ามีหัวข้อใดบ้าง และหาซื้อหนังสือที่จำเป็น (ตำรา + แบบทดสอบ)
– จัดสรรเวลา: บางหัวข้อมีปริมาณเนื้อหาที่ต้องอ่านใกล้เคียงกัน แต่ออกข้อสอบจำนวนไม่เท่ากัน จึงต้องจัดสรรเวลาให้เหมาะสม
– อ่านและทำโน้ตย่อ: เนื่องจากเนื้อหามีจำนวนมาก ไม่สามารถอ่านทวนได้หลายรอบ ผมจะอ่านอย่างละเอียดในรอบแรก และทำโน้ตย่อเพื่อใช้อ่านเฉพาะส่วนนี้ในรอบถัดๆ ไป
– ทำข้อสอบเก่า: จำเป็นมากสำหรับการสร้างความคุ้นเคยกับข้อสอบจริง
– เข้าอบรม: สถาัับันพัฒนาความรู้ตลาดทุนจะจัดอบรมสอบ Level I และ II อย่างต่อเนื่อง ซึ่งแนะนำให้เข้าร่วมครับ
– ไม่ย่อท้อและไม่กลัวแพ้: ข้้อสอบทั้งยากและมาก อาจท้อถอยได้กลางทาง ผมจึงถือหลักคิดว่า “ความสำเร็จอาจอยู่แค่ก้าวถัดไป จะรู้ได้ต้องกล้าเดินต่อ”

หวังว่าบทความนี้จะช่วยเป็นข้อมูลและแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านสำหรับการเข้าสู่ระบบการสอบ CISA (รวมไปถึง CFA) นะครับ ส่วนตัวของผมเอง ผลที่ได้จากการสอบ นอกจากจะเป็นความรู้ทางวิชาการที่ห้องเรียนในระดับปริญญาตรีและโทไม่มีสอน และโอกาสกว้าวหน้าในอาชีพแล้ว ที่สำคัญกว่า คืิิอได้ท้าทายตัวเองให้ประสบความสำเร็จในขั้นสูงขึ้นไป ซึ่งผลสูงสุดที่ผมเชื่อว่าทุกท่านจะได้รับ คือความภูมิใจในตนเองครับ 🙂

———————–

ติดตามข้อมูลและกำหนดการสอบ CISA ล่าสุด ได้ที่:

– Thailand Securities Institute:
• Level I: http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1164&Itemid=933
• Level II: http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1165&Itemid=934
• Level III: http://www.tsi-thailand.org/index.php?option=com_content&task=view&id=1166&Itemid=935
– http://www.saa-thai.org/
– http://www.sec.or.th/

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
คุณ ศกุนพัฒน์ จิรวุฒิตานันท์ (SJ, Keng) ปัจจุบันทำงานด้านการลงทุนอยู่ที่บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) (Bangkok First Investment & Trust Public Company Limited หรือ "BFIT") ในตำแหน่ง Head of Investment Advisory Department ดูแลงานระดมทุนของบริษัท ควบกับตำแหน่ง Investment Committee ดูแลเงินลงทุนในหุ้น กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้ และบริหารสภาพคล่องของธุรกิจผ่านธุรกรรมในตลาดเงิน ในด้านคุณวุฒิ สอบผ่านหลักสูตร Certified Investment & Securities Analyst Level 2 (CISA II) ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต. ให้เป็นนักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์ และผู้แนะนำการลงทุนด้านตลาดทุน รวมถึงได้รับอนุญาตจากสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ให้เป็นผู้ค้าตราสารหนี้ขึ้นทะเบียน SJ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และระดับปริญญาโท (MBA, Finance) จาก The University of Western Australia และเคยทำงานวิเคราะห์สินเชื่อลูกค้าเกษตรอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
Posts created 24

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top