CIO Outlook by INFINITI Global Investors | August 2015

แชร์บทความนี้

สวัสดีครับ พบกันเป็นฉบับแรกสำหรับมุมมองการลงทุน และการจัดพอร์ตการลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลก โดยผมจะทำการวิเคราะห์ถึงปัจจัยการลงทุนที่สำคัญต่อตลาดการลงทุนทั่วโลก รวมไปถึงคำแนะนำในการให้น้ำหนักการจัดพอร์ตลงทุนในสินทรัพย์ทั่วโลกเป็นรายเดือนผ่านรายงาน CIO Outlook ฉบับนี้ครับ

ผลประกอบการของแต่ละชนิดสินทรัพย์นับแต่ต้นปี

ตลาดหุ้นโลกเป็น Asset Class ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดนับแต่ต้นปี 2558 นำมาโดยตลาดหุ้นยุโรป และญี่ปุ่น ขณะที่ตลาดหุ้น Asia ex Japan ยังคงอยู่กับที่โดยได้รับแรงกดดันจากตลาดหุ้นจีน ในส่วนของพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกราคามีความผันผวนค่อนข้างสูง และผลตอบแทนรวมต่ำจากการปรับลดลงของราคา mark to market โดย US High Yield ดูจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่าจากระดับดอกเบิ้ยรับที่ค่อนข้างสูง ในส่วนของสินค้าโภคภัณฑ์ยังมีความผันผวนต่อเนื่องและล่าสุดให้ผลตอบแทนติดลบไปประมาณ 5 – 7% โดยเฉพาะราคาทองคำที่ปรับลงมาอย่างรุนแรง

รูปที่ 1 การเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ทั่วโลก


IMF คาดการณ์การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2558 ยังเติบโตได้ในระดับ 3.3% และเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 3.8% ในปี 2559 ซึ่งเป็นสภาวะที่เอื้อต่อการลงทุนในตลาดหุ้นโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังไม่เร่งตัวทำให้การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป

รูปที่ 2 คาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดย IMF


ปัจจัยสำคัญต่อตลาดหุ้นโลก

  1. การขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ
    เมื่อปัญหาของกรีซเริ่มคลี่คลายลง ปัจจัยที่ตลาดโลกจะให้ความสนใจเป็นอันดับต้น ๆ หนีไม่พ้นการขึ้นดอกเบี้ยของอเมริกา โดยล่าสุด กรรมการของ FED ปรับลดการคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยปีนี้เหลือเพียงประมาณ 1 – 2 ครั้งภายในปี 2558 โดยดอกเบี้ยนโยบายอเมริกาน่าจะขึ้นจาก 0.125% เป็น 0.375 – 0.625% (ดูรูปที่ 1) การขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25 – 0.50% ไม่น่าจะเป็นผลลบต่อตลาดหุ้นโลก แต่น่าจะเป็นตัวกดให้ตลาดหุ้น Emerging Market ยังคงทำผลงานได้ต่ำกว่า Developed Market อย่างต่อเนื่อง จากทิศทางค่าเงินที่มีแนวโน้มอ่อนตัวเมื่อเทียบกับ USD รวมทั้งค่าเงินบาทของไทยที่ปรับตัวอ่อนค่าที่สุดในรอบหลายปี

รูปที่ 2 มุมมองของกรรมการ FED ต่อขนาดของการขึ้นดอกเบี้ยของอเมริกาในปี 2558

  1. ความผันผวนของตลาดหุ้นจีน
    ในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนมีความผันผวนมากผิดปกติ โดยนักลงทุนรายย่อยที่กำไรไปมากในก่อนหน้านี้ ได้แห่ขายหุ้นจีน A Share ที่จะทะเบียนในประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทางการจีนก็ได้ทยอยออกมาตรการพยุงตลาดอย่างต่อเนื่อง ทั้งการตั้งกองทุนพยุงหุ้น การห้าม Short Sell หรือกระทั่งการให้หุ้นหลาย ๆ ตัวหยุดซื้อขายเป็นการชั่วคราว ณ ปัจจุบัน sentiment ของตลาดจีนยังคงดูไม่ดี เนื่องจากความผันผวนที่สูงมาก ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศขาดความมั่นใจ อย่างไรก็ตามเรามองเห็นโอกาสในหุ้นจี H Share ซึ่งเป็นบริษัทจีนที่จดทะเบียนอยู่ในฮ่องกง ซึ่ง Valuation ปรับลงมาในเกณฑ์ถูกมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต
  2. การปรับลดลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์
    โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ปรับลดลงอีกครั้งในช่วงเดือนที่ผ่านมา ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม แต่จะส่งผลลบต่อประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน โดยประเทศที่ได้รับประโยชน์สูงที่สุดคืออินเดีย เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงช่วยทำให้เงินเฟ้อต่ำลง และเอื้อให้ธนาคารกลางสามารถลดดอกเบี้ยได้ รวมไปถึงช่วยลดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ อย่างไรก็ตามเรามองว่าราคาน้ำมันดิบได้ผ่านจุดต่ำสุดของปีไปแล้ว และมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นในระยะเวลา 6 – 12 เดือนข้างหน้า

INFINITI Portfolio Model

พอร์ตการลงทุนสำหรับพอร์ตที่เน้นลงทุนแบบ Absolute Return เป้าหมายผลตอบแทนการลงทุนต่อปีประมาณ 10 – 15% และมีความผันผวนของพอร์ตในระดับที่ต่ำกว่าตลาดหุ้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง – สูง


ในส่วนของตราสารทุนเราให้น้ำหนักการลงทุนในยุโรปมากที่สุดจากแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจ และการเติบโตของกำไรไตรมาส 2/58 ที่มีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด และการใช้นโยบาย QE ของธนาคารกลางที่เพิ่งเริ่มในช่วงปลายไตรมาส 1/58 เรายังคงชอบการลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นจากทิศทางการอ่อนค่าของเงินเยนซึ่งส่งผลบวกต่อหุ้นในตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก ทั้งนี้เรามองว่าหุ้นขนาดกลาง-เล็ก มีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าหุ้นขนาดใหญ่เนื่องจากมีการเติบโตของกำไรที่สูงกว่า สำหรับการลงทุนใน Emerging Market เรายังคงไม่แนะนำให้เข้าลงทุนในตลาดหุ้นไทย และชอบตลาดหุ้นอินเดียมากที่สุดจากทิศทางความคืบหน้าของการปฏิรูปประเทศ และประโยชน์ที่ได้รับจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงมา ในส่วนของตลาดหุ้นจีน เราแนะนำน้ำหนัการลงทุนเพียง 5% เนื่องจาก Valuation H-Share อยู่ในระดับถูกน่าลงทุน

ในส่วนของตราสารหนี้ เราแนะนำให้ลงทุนในกองทุน CIMB-Principal DPLUS ซึ่งทำผลตอบแทนได้ดีอย่างสม่ำเสมอเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม และแนะนำให้มีสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก 25% ของพอร์ตการลงทุน อันได้แก่ US High Yield Bond, REIT และหุ้นกลุ่มพลังงานทั่วโลก (ใช้แทนการลงทุนในน้ำมันโดยตรง)

สุดท้ายสิ่งที่ควรให้ความสนใจในเดือนสิงหาคมคือ SET Index ของไทย ซึ่งปรับตัวลดลงมาจนถึงระดับ P/E ประมาณ 14 เท่า สำหรับกำไรของปี 2558 หากค่าเงินดอลลาร์เริ่มหยุดแข็งค่า เริ่มเห็นเสถียรภาพของเงินบาท หรือกลับมามีปัจจัยบวกเข้ามากระตุ้นเราจะทำการให้ปรับพอร์ตกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นประเทศไทย จากที่ยังคงไม่แนะนำให้มีในพอร์ตปัจจุบัน

เจษฎา สุขทิศ, CFA

INFINITI Global Investors

The Ultimate Investment Solution

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top