EconomicTalk – การวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุน

แชร์บทความนี้

ผมได้มีโอกาสเข้าฟังสัมมนา “Quarterly Economic Assessment and Outlook” ที่จัดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเป็นที่มาของเรื่องราวในวันนี้ที่อยากจะแลกเปลี่ยนวิธีคิดของผู้จัดการ กองทุนคนหนึ่ง ในการที่จะวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจของไทยที่ประกาศออกมา และนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การลงทุน โดยหวังว่าท่านผู้อ่านน่าจะได้นำแนวคิดไปใช้เป็นอาวุธเสริมสำหรับการจัดพอร์ ตการลงทุนของท่านเอง

ตัวเลขเศรษฐกิจหาจากไหน

หลาย ท่านอาจคิดว่าต้องเป็นนักลงทุนสถาบัน จึงจะมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลได้มากกว่านักลงทุนรายย่อย ซึ่งไม่จริงทีเดียวสำหรับตัวเลขเศรษฐกิจครับ เพราะตัวเลขเศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่จะมีที่มาจากหน่วยงานราชการ ซึ่งสมัยนี้มักจะนำเสนอผ่านเวบไซต์ โดยผู้ลงทุนทุกประเภทสามารถเข้าถึงได้พร้อมกัน และได้รับข้อมูลที่เหมือนกัน สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยหลัก ๆ ที่น่าติดตาม ผมคิดว่ามีดังนี้ครับ

1. รายงานเศรษฐกิจและการเงินรายเดือน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (http://www.bot.or.th/ >>> เลือก “ภาวะเศรษฐกิจ”) โดยรายงานนี้จะเผยแพร่เป็นรายเดือน ทุก ๆ วันทำการสุดท้ายของเดือน โดยครอบคลุมถึงตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ อาทิ เช่น ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม, อัตราการใช้กำลังการผลิต, เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคของภาคเอกชน, เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน, อัตราเงินเฟ้อ, ภาคส่งออก-นำเข้า ฯลฯ

2. รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (http://www.bot.or.th/ >>> เลือก “ภาวะเศรษฐกิจ” >>> เลือก “รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ”) รายงานนี้มีประโยชน์มากครับ เพราะจะมีรายละเอียดเชิงลึกของทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ รวมถึงประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจในปีข้างหน้า ทั้งตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวม และแต่ละภาคส่วน โดยรายงานนี้จะเผยแพร่เป็นรายไตรมาส ในเดือน มกราคม, เมษายน, กรกฎาคม, และตุลาคม ของทุกปีครับ

3. ตัวเลขอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (http://www.nesdb.go.th/
>>> เลือก “ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม” >>> เลือก “บัญชีประชาชาติ” >>> เลือก “Quarterly Gross Domestic Product”) โดยตัวเลข GDP จะประกาศหลังจากสิ้นไตรมาสประมาณ 2 เดือน เช่น ตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2/52 ปีนี้จะประกาศประมาณช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2552 นี้ โดยรายงานฉบับนี้จะลงลึกในรายละเอียดทั้งหมดของอัตราการเจริญเติบโตเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ผ่านมา

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญ ที่ประกาศจากหน่วยงานรัฐครับ เช่น ตัวเลขเงินเฟ้อ และตัวเลขการส่งออก / นำเข้า ที่ประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์ (http://www.mof.go.th/), ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ประกาศโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (http://www.thaiechamber.com/) เป็นต้น

ตัวเลขเศรษฐกิจหลัก ๆ ที่ควรติดตาม

ถ้า คุณไม่ได้ทำงานที่ต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิด คงจะเป็นการยากหากคุณจะต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจทุก ๆ ตัว และทุก ๆ เดือนอย่างที่ผู้จัดการกองทุนทุกคนต้องทำ ดังนั้น ผมจึงแนะนำให้ติดตามเป็นรายไตรมาสครับโดยติดตาม รายงาน 2 ฉบับนี้ครับ

1. “รายงานแนวโน้มเงินเฟ้อ” ของแบงค์ชาติ เพื่อให้ทราบว่าประมาณการเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อของแบงค์ชาติเมื่อมองไปข้างหน้าเป็นอย่างไร สำคัญคือการปรับประมาณการครับ ว่า 3 เดือนที่ผ่านมาแบงค์ชาติได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ ถ้าปรับประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจขึ้นหรือลงครั้งละมาก ๆ ก็มักจะมีผลต่อตลาดหุ้น, ตลาดตราสารหนี้, รวมถึงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

2. ตัวเลข GDP จริงที่ประกาศโดยสภาพัฒน์ฯ อันนี้จะทำให้เราเข้าใจว่าแต่ละภาคส่วนของเศรษฐกิจมีแนวโน้มเป็นอย่างไร รวมถึงสามารถนำไป Cross check กับการประมาณการเศรษฐกิจของแบงค์ชาติได้ ด้วยครับ ยกตัวอย่างเช่น หากประมาณการเศรษฐกิจที่ออกมาในเดือนเมษายนบอกว่าปีนี้ เศรษฐกิจจะโตมาก แต่พอตัวเลขจริงของไตรมาส 1 ที่ประกาศในเดือนพฤษภาคม ออกมาไม่ดี เราก็พอจะคาดเดาได้ครับว่าน่าจะการปรับลดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจที่จะ ประกาศในเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นบ้างแน่นอน ไม่มาก ก็น้อยครับ

วิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ

เมื่อ วันที่ 24 กรกฎาคม 2552 แบงค์ชาติได้เผยแพร่รายงานภาวะเงินเฟ้อล่าสุดออกมา โดยปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของ GDP และเงินเฟ้อของปี 2552 จาก และปรับเพิ่มประมาณการของปี 2553 รายละเอียดตามตารางครับ


ใน BLOG ฉบับหน้าเราจะมาทำการวิเคราะห์กันครับว่าตัวเลขดังกล่าวจะนำไปวิเคราะห์ได้ อย่างไร และที่สำคัญคือจะนำตัวเลขนั้นไปจัดกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างไร ติดตามฉบับหน้าครับ

โดย เจษฎา สุขทิศ, CFA.

ผู้จัดการกองทุน, บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยา จำกัด.

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top