EconomicTalk – การกำหนดกลยุทธ์การลงทุน จากการวิเคราะห์เศรษฐกิจ (ภาคจบ)

แชร์บทความนี้

ต่อเนื่องจากบล็อกบทความที่แล้ว ที่ผมได้เสนอให้ท่านผู้อ่านติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสองตัวหลัก คือ ตัวเลขคาดการณ์อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อ ใน Inflation Report ของแบงค์ชาติ ซึ่งผมมองว่าเป็นตัวเลขคาดการณ์ที่นักลงทุนทุกกลุ่มในตลาดให้ความสำคัญในลำดับต้น ๆ นอกจากนั้นมีตัวเลขเศรษฐกิจอีกชุดนึงที่ควรรติดตามตัวเลขการเติบโตจริงของประเทศที่ประกาศโดยสภาพัฒน์ฯ เพื่อให้ทราบว่าการเติบโตจริงของประเทศ และนำไป cross check กับตัวเลขประมาณการของแบงค์ชาติด้วย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าแบงค์ชาติประมาณการเศรษฐกิจจะโต 5% แต่หาตัวเลขจริงที่ประกาศโดยสภาพัฒน์ ใน 2 ไตรมาสแรกโตแค่ 2% นั่นคือมีโอกาสสูงที่แบงค์ชาติจะปรับประมาณการเศรษฐกิจลดลง ซึ่งแน่นอนจะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ และค่าเงิน สำหรับรายละเอียดว่าตัวเลขแต่ละชุดจะมีกำหนดออกอย่างไร ความถี่ในการเผยแพร่ และแหล่งข้อมูลในการติดต่อหา สามารถติดตามได้จากบล็อก FundTalk9 ครับ

Your view against Market Consensus

ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของ ผู้จัดการกองทุน สิ่งสำคัญไม่ใช่เพียงการติดตามการประกาศของตัวเลขเศรษฐกิจ หากแต่เป็นการมีมุมมอง (Market View) ที่แตกต่างจากสิ่งที่นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่เชื่อ (Market Consensus) ซึ่งสิ่งที่นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่เชื่อก็มักจะเป็นตัวเลขจากแหล่งที่น่า เชื่อถือเช่นแบงค์ชาติ หรือสภาพัฒน์ดังที่แนะนำให้ท่านติดตามนั่นเอง

ขอ ยกเป็นตัวอย่างครับ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม แบงค์ชาติได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจ และเงินเฟ้อในปี 2010 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยปรับตัวเลข GDP growth ปีหน้าจากเฉลี่ย 2.5% เป็น 4.0% และปรับตัวเลขเงินเฟ้อจากเฉลี่ย 2.0% เป็น 4.5% ซึ่งการปรับเพิ่มประมาณการครั้งเดียว 1.5 – 2.5% ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญมาก (ถ้าดูย้อนหลังในอดีตจะเห็นว่าการปรับประมาณการแต่ละครั้งโดยเฉลี่ยจะปรับน้อยกว่านี้)

Before Fact

การ กำหนดกลยุทธ์การลงทุน ก่อนที่ตัวเลขจะประกาศ หากเราทำการวิเคราะห์ก่อนหน้าที่แบงค์ชาติจะปรับประมาณการ และเชื่อว่าจะมีการปรับประมาณการแบบ Positive Surprise เราก็ควรจะปรับเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้น ลดสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ก่อนที่จะถึงวันที่แบงค์ชาติจะประกาศประมาณ การตัวเลขเศรษฐกิจ (เวลาเศรษฐกิจดี เงินเฟ้อสูงราคาหุ้นจะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนราคาตราสารหนี้จะปรับลดลง)

After Fact

หลัง จากตัวเลขการคาดการเศรษฐกิจของแบงค์ชาติประกาศ ตลาดก็จะปรับตัวไปตามการคาดการณ์นั้น หาก ผู้จัดการกองทุน มีมุมมองที่ต่างจากแบงค์ชาติ ยกตัวอย่างเช่น หาก ผู้จัดการกองทุน มองว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะโตเพียง 2% นั่นคือเชื่อว่าในอนาคตจะมีการลดประมาณการ GDP เราก็ควรจะปรับลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้น และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้

โดยสรุป การกำหนดกลยุทธ์ การลงทุน เพื่อชนะตลาด ต้องทำเมื่อนักลงทุน คิดแตกต่างจากสิ่งที่ตลาดคิด (Our view against consensus) ดังนั้นสิ่งที่นักลงทุนควรมีคือมีมุมมองของตัวเอง เพื่อนำไปเทียบกับสิ่งที่ตลาดคิด แล้วนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์การลงทุน นั่นเอง

โดย เจษฎา สุขทิศ, CFA.
ผู้จัดการกองทุน, บลจ. อยุธยา จำกัด.

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top