EconomicTalk – PIGS : ปีเสือ แต่หมูดุกว่า

แชร์บทความนี้

อาสา อินทรวิชัย

ใครกล่าวว่าปีนี้เป็น “ปีเสือดุ” ผมว่าไม่ใช่ครับ น่าจะเป็น “หมูดุ” มากกว่า “PIGS” หรือ “PIIGS” คือกลุ่มประเทศ Portugal (AA rating) Ireland (AA-) บางนิยาม ได้รวม Italy (AA-) เข้าไปใน “I” ด้วย Greece (A-) และ Spain (AAA) ถูกยกเป็นกรณีของประเทศที่มีสถานการณ์คลังที่ถดถอย อาจถูก downgrade rating และในขณะที่ผมกำลังเขียน article นี้อยู่ ก็ได้มี Acronym (คำย่อ) ใหม่เกิดขึ้นอีกหนึ่งคำ คือ “STUPID” ซึ่งหมายรวมถึง Spain Turkey UK Portugal และ Dubai น่าแปลกใจไหมครับที่ UK ถูกรวมอยู่ในกลุ่มด้วย UK เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบกับภาวะ Deficit to GDP สูง กล่าวคือ ในปี 2010 นี้ Budget deficit ของ UK ถูกตั้งไว้ที่ 13% อีกทั้ง ภาระหนี้ภาครัฐฯ ที่สูงมาก และ UK ควรต้องจัดทำ contingency plan เพื่อการ Roll over หนี้ภาครัฐฯ หาก PIGS crisis ได้ลุกลามมายัง UK

เนื่องจากประเทศในกลุ่มสมาชิก EU จะ ต้องดำเนินนโยบายการเงินร่วมกัน ประเทศเหล่านั้นควรต้องมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระดับอัตราเงินเฟ้อ ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และอัตราการว่างงาน ส่วนหลักเกณฑ์สำคัญที่ใช้เป็นมาตรฐานการคัดเลือกกลุ่มประเทศในยุโรปใน ปี ค.ศ. 2000 ที่เรียกว่า Maastricht law นั้น เน้นที่ Fiscal policy (นโยบายการคลัง) เช่น % Budget deficit to GDP และ % Debt to GDP เป็นสำคัญ โดยมีเกณฑ์อยู่ที่ 3% และ 60% ตามลำดับ นอกจากนั้นระดับ inflation ต้องไม่สูงจนเกินไป Greece เป็นประเทศที่มี Deficit สูงที่สุดที่ 13% ในขณะที่ Italy มีระดับ Debt to GDP ที่มากกว่า 100% (ใกล้เคียงกับ Greece)

ประเทศเยอรมันเป็นประเทศที่มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดในกลุ่มประเทศ EU ในตลาดตราสารหนี้นั้นก็มักใช้ พันธบัตรรัฐบาลของประเทศเยอรมัน เป็น Benchmark อ้างอิง นั่นแสดงถึงเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจของประเทศเยอรมัน และเป็นที่ทราบกันดีว่า บางประเทศไม่ qualify ที่จะเข้าร่วม EU ด้วยซ้ำไป เช่น ประเทศ Italy ซึ่งมี inflation ค่อนข้างสูง รวมถึง Debt to GDP และ budget deficit ที่สูงมากอีกด้วย หรือประเทศ Greece ที่มี Debt to GDP สูงกว่า 120% และเร็วๆนี้ ได้มีการเปิดเผยถึงสาเหตุที่ Greece สามารถเข้าร่วม EU ได้นั้น ว่าเป็นเพราะ รัฐบาลของ Greece ได้เข้าทำธุรกรรมพิเศษกับสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่เพื่อลดระดับ Debt to GDP ให้ต่ำพอที่จะเข้าเป็นสมาชิกของ EU แต่จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักหนี้สาธารณะของ Greece พบว่า ธุรกรรม Swap ดังกล่าว (ขนาด USD 1Bln) เป็นเพียงการผลักภาระหนี้ในปัจจุบัน ไปในอนาคต) ในขณะที่รัฐฯ มี agenda ต้องลดภาระหนี้ แต่ต้องไม่ลดมากเสียจนทำให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ทั้งกรณีของ Greece และ UK นั้น พบว่ามีรากฐานมาจากการเมืองเป็นสำคัญครับ

หากมองย้อนไปในปี 2009 ประเทศ Iceland ได้ประสบปัญหาสภาพคล่อง (Solvency) ไปก่อนประเทศเพื่อนบ้าน อันเป็นผลมาจาก อัตราเงินเฟ้อที่ขยับสูงถึงระดับ 8-9% ส่งผลให้ค่าเงิน Krona อ่อนค่าลงถึง 30% ส่งผลให้รัฐบาลต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปที่ 15% เพื่อดึงเม็ดเงินกลับเข้าประเทศ ก่อนหน้าที่ Iceland จะถูก Downgrade เป็น Junk (BB+) นั้น มี CLN (Credit-Linked Note) ที่ link กับ credit worthiness (ความสามารถในการชำระคืน) ของ ประเทศ Iceland มาเสนอขาย ซึ่ง ณ ขณะนั้น Iceland ได้รับ credit rating A- (S&P) แต่ระดับ CDS ของ Iceland อยู่ในระดับที่สูงมาก (800 bps) ขัดแย้งกับ credit rating ระดับ A- ของ Iceland อย่างอดสงสัยไม่ได้ ซึ่งแสดงถึง 2 ประเด็น คือ flow บางอย่างที่เกิดขึ้นเพื่อ hedge credit risk หรือ credit rating ไม่สะท้อนสถานะการเงินการคลังของ Iceland ได้อย่างทันการ ปัจจุบัน rating ได้ถูก downgrade ลงเป็น BBB- โดยมีระดับ CDS อยู่ที่ประมาณ 600bps ครับ เรื่อง Public debt คงจะเป็นประเด็นที่ต้องใช้เวลาในการแก้ไขเป็นปี เล่าสู่กันฟังว่า มีคนกล่าวว่าปัญหาเรื่อง Debt crisis ในครั้งนี้รุนแรงกว่า เรื่อง Eastern Europe ปีที่แล้ว 4 เท่า และหนักกว่า Dubai ถึง 50 เท่าครับ

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
คุณอาสา อินทรวิชัย ปัจจุบันเป็น Fixed income fund manager ที่ AYF หรือ บลจ.อยุธยา ก่อนที่จะมาร่วมงานกับ AYF คุณอาสาเคยทำงานกับธนาคาร Standard Chartered Bank (Thai) ในตำแหน่ง Global Investor Sales และเป็น Fixed income fund manager ที่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และที่ Citibank ในตำแหน่ง Relationship manager (Financial instituitons) คุณอาสา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรม เครื่องกล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และปริญญาโททาง Mechanical Engineering จาก University of Southern California และ MBA จาก University of California, Berkeley
Posts created 13

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top