InvestmentTalk – นักลงทุนดันโด (The Dhandho Investor) ตอนที่ 1

แชร์บทความนี้

นักลงทุนดันโด หลายคนคงสงสัยว่าเป็นนักลงทุนประเภทไหน ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มนี้ซึ่งเขียนโดย Mohnish Pabrai และแปลโดย พรชัย รัตนนนทชัยสุข ซึ่ง Mohnish Pabrai เป็นคนบริหารกองทุน Pabri Funds มีสินทรัพย์ที่บริหาร 300 ล้านดอลลาร์ สมาชิกที่รวมลงทุนมี 400 ครอบครัวทั่วโลก โดยไม่มีสถาบันการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง และเขาเป็นผู้วิเคราะห์หุ้นเพียงคนเดียว ซึ่งหากนับตั้งแต่จุดเริ่มต้นในปี 1999 กองทุน Pabri Funds สร้างผลตอบแทนทบต้นต่อปีได้สูงกว่า 28% โดยที่เขามีต้นแบบในการลงทุนคือ วาร์เรน บัพเฟตต์

นักลงทุนส่วนใหญ่คงจะได้ยินคำว่า High risk-High return หรือ High risk-High expected return นั้นก็คือนักลงทุนจะยอมลงทุนในสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงก็ต่อเมื่อได้ผลตอบแทนที่สูงตามไปด้วย แต่นักลงทุนดันโดได้พลิกความเชื่อนี้ โดยมีหลักคิดที่ว่า “การได้ผลตอบแทนที่สูงสุด ในขณะที่มีความเสี่ยงต่ำสุด

Mohnish Pabrai ได้เริ่มต้นเขียนเกี่ยวกับนักลงทุนดันโดในหนังสือของเขาจากคนกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งเป็นคนตระกูลพาเทล อพยพมาจากประเทศอินเดียเข้ามาในประเทศสหรัฐฯในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 โดยปราศจากการศึกษาและเงินทุน โดยที่ปัจจุบันนี้ตระกูลพาเทลเป็นเจ้าของกิจการเกินครึ่งของธุรกิจโมเต็ลทั้งหมดในประเทศสหรัฐฯ โดยมีสินทรัพย์มูลค่ารวมมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์ คนกลุ่มนี้มีหลักคิดอย่างไรและสร้างความมั่งคั่งได้อย่างไร และเราสามารถนำหลักคิดเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ในการลงทุนของเราได้อย่างไร?

Dhandho เป็นคำในภาษากุจาราตี หมายถึง “ความพยายามสร้างความมั่งคั่ง” เป็นแนวทางการทำธุรกิจแบบให้ผลตอบแทนสูง แต่มีความเสี่ยงต่ำ

หลักคิดของนักลงทุนดันโดมีอยู่ 9 ข้อที่สำคัญ ได้แก่:

1. มุ่งเน้นไปที่การซื้อธุรกิจซึ่งดำเนินการอยู่แล้ว

โดยผู้เขียนพยายามเปรียบเทียบให้เห็นข้อดีข้อเสียในการลงทุนในตลาดหุ้นกับการทำธุรกิจด้วยตัวเอง

  • การทำธุรกิจด้วยตัวเองนั้นต้องลงทุนทั้งด้านการเงินและการบริหารงาน
  • ถ้าคุณซื้อหุ้น เราจะมีผู้บริหารงานที่มีความรู้ความชำนาญในด้านนั้นๆ และยังเปิดโอกาสให้เราเลือกได้เป็นเจ้าของตามสัดส่วนเงินลงทุนและใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการเริ่มทำธุรกิจ
  • การซื้อขายในตลาดหุ้นนั้นคุณมีโอกาสซื้อสินทรัพย์ได้มาในราคาถูกมากๆ และสามารถขายได้ที่ราคาแพงๆ ได้เช่นกัน
  • การทำธุรกิจคุณต้องใช้จำนวนเงินมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กก็ตาม แต่คุณสามารถใช้เงินจำนวนน้อยกว่าในการซื้อหุ้นและสามารถเพิ่มจำนวนไปได้เรื่อยๆ
  • มีหุ้นที่จดทะเบียนให้คุณซื้อมากมายทั้งในและต่างประเทศ แต่จะมีตัวเลือกน้อยกว่าหากคุณอยากจะซื้อบริษัทซัก 1 บริษัท

2. ซื้อธุรกิจเรียบง่ายในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

  • ต้องลงทุนเฉพาะธุรกิจที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อน ซึ่งเป็นบริษัทที่คุณสามารถทำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี และต้องมีข้อมูลยาวนานเพียงพอที่จะให้เราวิเคราะห์ ซึ่งคุณต้องสามารถคาดการณ์กระแสเงินสดและกำไรจากการดำเนินงานได้ ซึ่งจะมีผลมากในเรื่องการหามูลค่าหุ้น

3. ซื้อธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบาก

  • มองหาหุ้นที่เจอข่าวร้าย และหุ้นถูกขายออกมาอย่างไร้เหตุผล
  • ลองมองหาหุ้นที่มี PE,PBV ที่ต่ำมากๆ หรือหุ้นที่ให้ปันผลสูงๆ ลองเข้าไปเจาะลึกรายละเอียดคุณอาจจะเจอของดีราคาถูกก็เป็นได้
  • ค้นคว้าหาข้อมูลหุ้นตามเว็บไซด์ต่างๆ หรือหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับหุ้น คุณอาจจะค้นพบหุ้นที่น่าสนใจ

หากเราพบหุ้นที่มีปัญหาหลายตัว เราควรเลือกหุ้นกลุ่มที่เรามีความเข้าใจเป็นอันดับแรกในการวิเคราะห์

4. ซื้อธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอันยั่งยืน

  • ธุรกิจที่ทำการวิเคราะห์นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องมีอัตราการเติบโตที่สูง แต่ต้องมีความได้เปรียบบริษัทอื่นที่ยั่งยืน อาทิเช่น การมีต้นทุนที่ถูก การมีแบรนด์สินค้าที่แข่งแกร่ง สินค้าและการบริการมีนวัตกรรม ซึ่งบริษัทคู่แข่งเลียนแบบได้ยาก และที่สำคัญต้องพิจารณาดูในงบดุลด้วยว่ามีผลตอบแทนต่อเงินลงทุนได้สูงๆ ด้วยหรือเปล่า

นักวิเคราะห์ดันโดยังไม่จบนะครับ ครั้งหน้าหน้าเรามาต่อกันนะครับว่าอีก 5 ข้อที่เหลือมีอะไรบ้าง รับรองว่ามีความน่าสนใจไม่น้อย และสามารถนำไปประยุกต์กับการลงทุนกับตัวเราได้ โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น หรือคนที่สนใจทำธุรกิจ น่าจะลองหาหนังสือเล่มนี้มาลองอ่านดูนะครับน่าจะได้หลักคิดในการลงทุน หรือทำธุรกิจไม่มากก็น้อย แล้วพบกันครั้งหน้ากับนักลงทุนดันโดตอนที่ 2 นะครับ

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
คุณ เศรษฐา ปวีณอภิชาต จบการศึกษาปริญญาตรีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาโทรคมนาคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มีประสบการณ์การทำงานด้านวิศวกรติดตั้งระบบสื่อสาร ในตำแหน่งวิศวรกร กับบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง และบริษัทเนทแอนคอนเทนด์ (ไทยแลนด์) รวมระยะเวลาการทำงาน 3 ปี จากนั้นคุณ เศรษฐาได้ทำกาศึกษาต่อในระดับปริญญาโทคณะบริหารธุรกิจสาขาด้านการเงิน ที่สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และเริ่มทำงานกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2550 ในตำแหน่งนักวิเคราะห์การลงทุน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้จัดการกองทุน ตราสารทุนภายในประเทศ
Posts created 9

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top