InvestmentTalk – ปรับพอร์ตรับครึ่งหลังปีงูจงอาง 2556

แชร์บทความนี้

สถานการณ์ของตลาดหุ้นทั่วโลกในระยะ 1 – 2 ปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าอยู่ในช่วงเสพย์ติดเม็ดเงินจากมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่ามาตรการ QE การที่ระบบเศรษฐกิจมีสภาพคล่องในระดับสูง ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยของประเทศใหญ่ ๆ อย่างอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น อยู่ในระดับต่ำใกล้ 0% ทำให้มีการนำเม็ดเงินต้นทุนต่ำเหล่านี้ไปแสวงหารผลตอบแทนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ทั้งการลงทุนในตราสารทุน พันธบัตร รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว FED จึงส่งสัญญาณว่ามาตรการกระตุ้นใกล้จะหมดลง ซึ่งคาดว่าจะหยุดกระตุ้นประมาณกลางปี 2557 จึงทำให้ตลาดเกิดความคาดหวังต่ออนาคตในเชิงลบ และวิตกกังวลอย่างหนัก อาการคล้ายกับนักกีฬาที่ติดสารกระตุ้นได้รู้ตัวว่าจะต้องแข่งกีฬาต่อไปโดยไม่มียากระตุ้นที่ได้รับอยู่เป็นประจำ

Abenomics

อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงก็คือวันนี้ เวลานี้การอัดฉีดสภาพคล่องยังมีอยู่ต่อไป ทั้งจากสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป โดยเฉพาะทางฝั่งญี่ปุ่นที่รัฐบาลของนายชินโซ อาเบะ เพิ่งเข้ารับต่ำแหน่งในช่วงปลายปี 2555 ที่ผ่านมา ได้เริ่มมีการใช้มาตรการ QE ออกมาโดยมีแผนที่จะฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจถึงประมาณ 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งจะทำให้ปริมาณฐานเงินในระบบเศรษฐกิจญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปีหน้าซึ่งถือว่าเป็นการใช้ยาแรงที่สุดอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นเลยทีเดียว จากวันนี้ไปจนถึง 12 เดือนข้างหน้า “ความจริง” คือขนาดสินทรัพย์ของธนาคารกลางทั่วโลกจะเพิ่มขื้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 20%

abenomics

สภาพคล่องยังมีเต็มระบบ

สิ่งสำคัญคือการปรับตัวลดลงรุนแรงของตลาดในระยะที่ผ่านมาไม่นับเป็นวิกฤตสภาพคล่องอย่างวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ หรือวิกฤตในกรีซที่ผ่านมา โดยสภาพคล่องในระบบการเงินของโลกถือว่ายังมีล้นระบบอยู่มาก การเทขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมาอยู่ในรูปเงินสดที่พร้อมจะกลับไปลงทุนได้ ไม่ได้ถูกดูดกลับไปยังสถาบันการเงินแต่อย่างใด ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าหากพื้นฐานของเศรษฐกิจยังคงดี กำไรของบริษัทจดทะเบียนยังคงเติบโตได้ดี เม็ดเงินก็จะสามารถกลับมาลงทุนได้อีกครั้ง

พื้นฐานของไทยยังแข็งแกร่ง

เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2556 – 57 มีแนวโน้มเติบโตได้ดี 4 – 5% เช่นเดียวกับกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่มีแนวโน้มเติบโตปีละประมาณ 15% ดัชนีตลาดหลักทรัพย์มีความสัมพันธ์ที่ชัดเจนกับการเติบโตของกำไร โดยดัชนีหุ้นมักจะปรับตัวไปกับการคาดการณ์กำไรใน 1 ปีข้างหน้า แนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียนรวมของประเทศไทยน่าจะทำ new high ในปีนี้และต่อเนื่องในปีหน้าน่าจะส่งผลให้ดัชนีหุ้นไทยสามารถทำ new high ได้เช่นกัน

ไม่ใช่ Party ขาขึ้นตลอดทางอีกแล้ว

ประมาณสองปีที่ผ่านมาที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นแรงอย่างต่อเนื่องและให้ผลตอบแทนสูงกว่าค่าเฉลี่ย ทั้งนี้มาจากหลายปัจจัยบวกที่เข้ามาพร้อมกัน ทั้งการกระตุ้นของ FED ที่ทำมาอย่างต่อเนื่องหลายปี, Valuation ที่อยู่ในระดับต่ำ, มาตรการรัฐที่มีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เรื่องการปรับลดภาษี, รถคันแรก, ฯลฯ ขณะที่สถานการณ์ปัจจุบันนั้นต่างออกไปมาก มาตรการ QE แม้จะมีอยู่ในวันนี้แต่ก็มีความคาดหวังว่าจะหมดในอีก 1 ปีข้างหน้า, Valuation ก็อยู่ในระดับปานกลางที่ P/E 12 – 14 เท่า, มาตรการรัฐโดยเฉพาะ Mega Project ต่าง ๆ ก็ดูจะมีโอกาสขับเคลื่อนได้ช้าลงในช่วงนี้ ทำให้ผมมองว่าตลาดหุ้นไทยในระยะ 1 – 2 ปีข้างหน้าจะกลับมาให้ผลตอบแทนปานกลางคือ 10 – 15% ต่อปี และมีความผันผวนมากขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้นในระยะนี้ ครึ่งปีหลังจึงเป็นลักษณะของปีงูจงอางที่มีพิษ และเราต้องระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น

หุ้น กองอสังหาฯ และตราสารหนี้ระยะกลาง

สำหรับการลงทุนที่แนะนำในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2556 นี้ผมยังคงแนะนำให้ลงทุนในหุ้นไทย ซึ่งน่าจะยังคงให้ผลตอบแทนที่ดี แม้จะความผันผวนที่เพิ่มขึ้นมาบ้าง โดยการลงทุนอาจเน้นหุ้นปันผลสูงซึ่งจะมีความผันผวนที่น้อยกว่าตลาดโดยรวม รวมไปถึงหุ้นที่มี Valuations ไม่แพงมาก และมีพื้นฐานการเติบหลักทรัพย์ชนิดที่ 2 คือกองทุนอสังหาฯ และกองทุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีอัตราเงินปันผลที่สูง และมีโครงสร้างรายได้ที่ค่อนข้างแน่นอน โดยหลักทรัพย์กลุ่มนี้น่าจะได้รับความสนใจเนื่องจากภาวะดอกเบี้ยทั่วโลกยังคงอยู่ในระดับต่ำ เม็ดเงินที่มีอยู่เต็มระบบย่อมจะไหลไปหากลุ่มหลักทรัพย์ที่มี Yield สูง ๆ สุดท้ายคือตราสารหนี้ระยะกลาง ซึ่งเหมาะจะใช้เป็นพอร์ตหลักของนักลงทุนโดยลงทุนโดยลงทุนได้มากถึง 40 – 60% ของเงินลงทุนรวมที่มี โดยจากการศึกษาในรอบ 6 – 7 ปีที่ผ่านมาพบว่านักลงทุนไทยเน้นนำเงินส่วนใหญ่ไปเก็บไว้ในกองทุนตลาดเงิน (Money Market) และกองทุนตราสารหนี้ 3 – 12 เดือน (Term Fund) ซึ่งมีผลตอบแทนสะสมน้อยกว่าเงินเฟ้อ กล่าวคือไม่สามารถรักษามูลค่าของเงินไว้ได้ ขณะที่การลงทุนในตราสารหนี้ระยะกลาง 2 – 3 ปีมีผลตอบแทนสะสมที่ชนะเงินเฟ้ออยู่พอสมควร และเหมาะสมในการลงทุนในภาวะดอกเบี้ยทรงตัว หรือปรับลดลงได้อีกเล็กน้อยในระยะ 1 ปีข้างหน้า

เจษฎา สุขทิศ, CFA

 

 

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top