InvestmentTalk – REBALANCING “เทคนิค ซื้อถูก ขายแพง”

แชร์บทความนี้

Portfolio Rebalancing Technique

เนื่องจากมีผู้สอบถามหลายท่าน และรูปเดิมในบทความมองไม่เห็น ผมจึงทำการ update ข้อมูลให้เป็นปัจจุับันอีกครั้งครับ

“หุ้นช่วงนี้ลงมาเยอะเลย อย่าเพิ่งซื้อ นักวิเคราะห์กำลังจะปรับประมาณการปีนี้ลงอีก”

“ช่วงนี้หุ้นเริ่มกลับมาเป็นขาขึ้นแล้ว เริ่มมีความน่าลงทุน” “ปีที่แล้วขาดทุนไปเยอะเลย คงหยุดเล่นไปอีกซักพัก”

ผม มักได้ยินประโยคเหล่านี้จากเพื่อน ๆ ที่ลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งผมมองว่าเป็นการสะท้อนพฤติกรรมการมองไปข้างหลัง เพื่อกำหนดกลยุทธ์การลงทุนในปัจจุบัน แต่บ่อยครั้งกลับไม่ได้ให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต
แนวทางข้างต้นผมเรียกว่า เป็นการลงทุนแบบ Momentum คือรอให้ตลาดมีสัญญาณก่อนจึงค่อยปรับตัวตาม เช่น ถ้าหุ้นเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นซักระยะเวลาหนึ่ง ก็เป็นสัญญาณเข้าลงทุน หรือถ้าหุ้นเริ่มตกซักระยะ ก็เป็นสัญญาณในการขายหุ้น ซึ่งกลยุทธ์แบบ Momentum ดังกล่าวจะใช้ได้ผลในตลาดแบบ Trendy market กล่าวคือเวลาขึ้นหรือลงแต่ละรอบเกิดขึ้นเป็นระยะเวลายาว ๆ

โดย ส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยชอบสไตล์ Momentum เพราะความผันผวนของตลาดหุ้นไทยมีค่อนข้างมาก บ่อยครั้งถ้าเรารอให้หุ้นขึ้นแล้วค่อยซื้อ หุ้นลงค่อยขาย กลับให้ผลลัพธ์เป็นการ “ซื้อแพง ขายถูก”
แนวทางที่ผมจะขอเสนอในวันนี้ เป็นหลักการปรับพอร์ตแบบ ซื้อถูก – ขายแพง ซึ่งเป็นแนวทางที่ผมใช้กับการลงทุนส่วนตัว และแนะนำให้กับเพื่อนและลูกค้าแล้วได้ผลที่ดี โดยวิธีการเป็นอย่างนี้ครับ สมมติว่าเรามีเงินลงทุนอยู่ในหุ้น 10,000 บาท โดยผมกำหนด 20% เป็นเปอร์เซนต์เป้าหมายในการปรับพอร์ต และเงินลงทุนเป้าหมายคือ 10,000 บาท กฎมีดังนี้ครับ

– เมื่อใดก็ตามที่พอร์ตการลงทุนปรับเพิ่มขึ้น 20% หรือขึ้นมาเป็น 12,000 บาท ให้ขายทำกำไรออกมา 2,000 บาท เพื่อให้เงินลงทุนเหลือ 10,000 บาทเท่าเดิม และเก็บเงินสดไว้

– เมื่อใดก็ตามที่พอร์ตการลงทุนปรับลดลง 20% หรือเหลือ 8,000 บาท ให้นำเงินสด 2,000 บาทมาลงทุนเพื่อให้เงินลงทุนรวมเป็น 10,000 บาท

– ทำตามแนวทางนี้ไปเรื่อย ๆ จนเมื่อใดหากมีเงินสดในมือเยอะขึ้น หรือมีเงินเก็บพร้อมจะลงทุนมากขึ้น ให้ปรับเงินลงทุนเป้าหมายขึ้น/ลงได้ ตามความเหมาะสม

ลองทดสอบย้อนกลับไปซัก 3 ปีโดยเริ่มตั้งแต่ปี 2006 นะครับ

หาก ไม่ทำการ Rebalance ใด ๆ ผลตอบแทนการลงทุนไม่รวมเงินปันผลอยู่ที่ ขาดทุนประมาณ 20% จาก SET Index ณ ระดับวันลงทุนเริ่มต้นที่ 713 แต่หากทำการปรับพอร์ตตามกลยุทธ์ข้างต้นจะขาดทุนเพียง 10% เท่านั้น โดยมีโอกาสขายทำกำไร 3 ครั้ง และซื้อของถูกอีก 3 ครั้งในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา

ขออนุญาตปรับให้เป็นปัจจุบัน โดยใช้ผลตอบแทน จาก 30 มี.ค 07 – 30 มี.ค. 10 ครับ

เริ่มต้น 30 Mar 07 ที่ SET 673.71 ลงทุน 10,000 บาท

3 Jul 07 ขายออก 2,000 บาท ที่ SET 673.71 x 1.2 = 808.45 (เงินสดเหลือ + 2 พันบาท หลังจากขายออกพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

5 Sep 08 ซื้อเพิ่ม 2,000 บาท ที่ SET 808.45 x 0.8 = 646.75 (เงินสดเหลือ 0 บาท หลังจากซื้อเพิ่มพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

7 Oct 08 ซื้อเพิ่ม 2,000 บาท ที่ SET 646.75 x 0.8 = 517.4 (เงินสดเหลือ – 2 พันบาท หลังจากซื้อเพิ่มพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

27 Oct 08 ซื้อเพิ่ม 2,000 บาท ที่ SET 517.4 x 0.8 = 413.92 (เงินสดเหลือ – 4 พันบาท หลังจากซื้อเพิ่มพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

4 May 09 ขายออก 2,000 บาท ที่ SET 413.92 x 1.2 = 496.70 (เงินสดเหลือ -2 พันบาท หลังจากขายออกพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

5 Jun 09 ขายออก 2,000 บาท ที่ SET 496.70 x 1.2 = 596.05 (เงินสดเหลือ 0 บาท หลังจากขายออกพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

22 Sep 09 ขายออก 2,000 บาท ที่ SET 596.05 x 1.2 = 715.26 (เงินสดเหลือ + 2 พันบาท หลังจากขายออกพอร์ตมีมูลค่า 1 หมื่นบาท)

30 Mar 10 SET อยู่ที่ 788.80 กลยุทธ์ REBALANCING ให้ผลตอบแทนคร่าว ๆ = (788.80 – 715.26) / 715.26 = 10.28% รวมกับเงินสดคงเหลือ 2000/10000 = 20% รวมเป็นผลตอบแทนประมาณ 30.28%

ขณะที่หาถือครองการลงทุนตั้งแต่วันแรกจะได้ผลตอบแทนประมาณ (788.8 – 673.71) / 673.71 = 17.08%

กล่าวคือ REBALANCING Technique ให้ผลตอบแทนสูงกว่า = 30.28 – 17.08 = 13.2%

ส่วน ตัวที่ผมชื่นชอบแนวทางการลงทุนแบบ Rebalancing เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้เราได้ “ซื้อตอนลง และขายตอนขึ้น” หรือเรียกได้ว่า “ซื้อถูก ขายแพง” ครับ นอกจากนี้เวลาราคาปรับเพิ่มขึ้นผมก็มีโอกาสได้ขายทำกำไรและเตรียมเงินสดไว้ ลงทุนเมื่อราคาปรับตัวลดลง

แนวทาง นี้ใช้ได้กับการลงทุนในตราสารหนี้, โภคภัณฑ์ และจัดพอร์ตการลงทุนโดยรวม (Asset Allocation) ได้ด้วยครับ โดยต้องกำหนดเปอร์เซ็นต์การปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับความผันผวนของแต่ละ ประเภทของหลักทรัพย์

อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ที่ผมนำเสนอในวันนี้จะให้ผลตอบแทนที่ไม่ค่อยดีในตลาด Trendy market แบบหลาย ๆ ปีเช่น ขาลงในช่วงปี 1996 – 1998 หรือขาขึ้นในปี 2002 – 2003 ครับ แต่ผมก็คงจะไม่เปลี่ยนแนวทางการลงทุนอย่างแน่นอน เพราะแนวทางแบบ Rebalancing ให้ความสบายใจกับผมในการจัดพอร์ตครับ เมื่อก่อนเวลาตลาดขึ้นก็เครียดเพราะรู้สึกว่าตกรถไฟ เวลาตลาดลงก็เครียดเพราะขาดทุน เดี๋ยวนี้เวลาตลาดขึ้นผมชอบ และลุ้นให้ขึ้นจนถึง 20% เพื่อจะได้ขายทำกำไร เวลาตลาดลงก็มีความสุขครับอยากให้ลงเยอะ ๆ ถ้าลงถึง 20% ก็คือช่วงเวลาที่จะได้ Shopping ของดีราคาถูก เรียกได้ว่า จะขึ้นหรือจะลงก็สนุกไปกับมันครับ

โดย เจษฎา สุขทิศ,CFA.

ผู้จัดการกองทุน, บลจ.อยุธยา จำกัด

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top