InvestmentTalk – Sector Rotation

แชร์บทความนี้

ในหลายบทความที่ผ่านมา ผมได้เล่าถึงการทำ Asset Allocation ซึ่งหมายถึงการจัดพอร์ตการลงทุนให้มีการกระจายไปในหลายประเภทของสินทรัพย์โดยจัดพอร์ตโดยรวมให้มีระดับความเสี่ยง และอัตราผลตอบแทนคาดหวังที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละคน [อ่านเพิ่มเพิมได้ที่ http://fundmanagertalk.com/category/investment/asset-allocation/ ]

สำหรับวันนี้ผมขอนำเสนอกลยุทธ์การทำ “Sector Rotation” ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนการถือครองสินทรัพย์หลัก [Core Asset]ให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงของวัฏจักรเศรษฐกิจ ซึ่งผมได้ศึกษาแนวทางนี้มาจากกลยุทธ์การลงทุนของ PIMCO ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพของทีมงานบริหารและกลยุทธ์การลงทุน จนได้รับความไว้ใจจากนักลงทุนทั่วโลก โดย PIMCO นั้นเป็นผู้บริหารกองทุนรวมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อว่า “PIMCO Total Return Bond Fund” มีขนาดใหญ่ถึงกว่า 7 ล้านล้านบาท ซึ่งผมจะนำมาเล่าในโอกาสถัดไปครับ

สำหรับการวิเคราะห์การทำ Sector Rotation ในวันนี้ สินทรัพย์หลักที่จะนำมาวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้

1. Treasuries หมายถึง พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ

2. Investment Grade Corporates หมายถึง ตราสารหนี้ภาคเอกชนระดับ BBB- ขึ้นไป

3. Emerging Market Debt หมายถึง ตราสารหนี้ที่ออกโดยประเทศกลุ่ม Emerging Market เช่น บราซิล, จีน

4. High Yield Bonds หมายถึงตราสารหนี้เอกชนระดับต่ำกว่า BBB- [Junk Bond]

5. Convertible Bonds หมายถึง หุ้นกู้แปลงสภาพ [ตราสารหนี้ที่มีสิทธิ์แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ]

6. Equities หมายถึง ตราสารทุน

clip_image002

จากการวิเคราะห์พบว่า วัฏจักรเศรษฐกิจแบ่งเป็น 5 ช่วงเวลาได้แก่

1. Early Expansion หมายถึ งช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มขยายตัว

2. Mid Expansion หมายถึง ช่วงกลางของภาวะเศรษฐกิจขยายตัว

3. Late Expansion หมายถึง ช่วงปลายของภาวะเศรษฐกิจขยายตัว

4. Early Recession หมายถึง ช่วงเริ่มต้นของภาวเศรษฐกิจชะลอตัว

5. Late Recession หมายถึง ช่วงปลายของภาวเศรษฐกิจชะลอตัว

จากการวิเคราะห์พบว่าสินทรัพย์คุณภาพสูงอย่างพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้คุณภาพสูง มักจะสร้างผลตอบแทนที่ดีในช่วงต้นของภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงอย่าง High Yield Bonds, หรือตราสารทุนมักจะสร้างผลตอบแทนที่ดีในช่วงปลายของภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เมื่อเราวิเคราะห์ถึงผลตอบแทนของแต่ละกลุ่มหลักทรัพย์ในช่วง 20 ปีย้อนหลังพบว่า หากเราสามารถคาดการณ์ถึงแนวโน้มของวัฎจักรเศรษฐกิจได้ถูกต้องว่าจะเข้าสู่ช่วงถดถอยในปี 2008 การทำ Sector Rotation โดยการปรับพอร์ตจากการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงอย่าง High Yield Bonds ไปลงทุนสินทรัพย์คุณภาพเช่น Treasuries หรือ Investment Grade Corporates สามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้ถึงประมาณ 20% เช่นเดียวกันหากเราสามารถวิเคราะห์ได้ถึงการสิ้นสุดช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงปี 2003 และปรับพอร์ตจากการถือ Treasuries ไปถือครอง Emerging Market Debt จะสามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้ถึง 25%

การวิเคราะห์ข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าการทำ Sector Rotation จะสามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มให้กับพอร์ตการลงทุน ดังนั้นนักลงทุนจึงควรให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจมหภาค และวัฏจักรเศรษฐกิจ เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของคุณครับ

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top