InvestmentTalk – พันธบัตรไทยเข็มแข็ง น่าลงทุนหรือไม่

แชร์บทความนี้

ในช่วงนี้เรียกได้ว่าร้อนแรงจริง ๆ สำหรับการเปิดจำหน่าย “พันธบัตรไทยเข็มแข็ง” ของรัฐบาล โดยรอบแรกขายไปแล้วขายไปแล้ว 3 หมื่นล้านเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมาจากเดิมที่วางแผนไว้เพียง 1.5 หมื่นล้าน โดยสำหรับการเปิดจำหน่ายในรอบที่ 2 จะเกิดขึ้นในวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 คือ ณ เวลาที่กำลังเขียนบทความอยู่นี้ ผมมั่นใจว่าขายหมดแน่นอนจากกระแสที่เป็นอยู่ตอนนี้ ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดีที่คนไทยจะได้สัมผัส และรู้จักการลงทุนในตราสารหนี้กันมากขึ้น จากเมื่อก่อนที่พันธบัตรหรือตราสารหนี้ มักจะเป็นการลงทุนของคนที่มีเงินเยอะ และซื้อขายกันครั้งนึงในมูลค่าค่อนข้างมาก ครั้งนี้ก็ต้องขอบคุณรัฐบาลที่ลดเงินขั้นต่ำลงเหลือเพียง 1 หมื่นบาท และสำหรับล็อตแรกยังมีการกำหนดวงเงินขั้นสูงที่ 1 ล้านบาทด้วย ซึ่งส่งผลให้มีจำนวนผู้ลงทุนเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง โดยการจองซื้อครั้งที่ผ่านมามีผู้สนใจจองซื้อสูงถึง 4 หมื่นกว่าคน ซึ่งสูงกว่าจำนวนผู้จองซื้อที่ผ่านมาจำนวนหลายเท่าตัว ผลที่ได้รับจากการออกพันธบัตรครั้งนี้นอกจากรัฐบาลจะสามารถระดมเงินได้ตาม เป้าหมาย ยังทำให้ตลาดทุนเกิดความลึก (Depth) ที่มากขึ้น กล่าวคือมีจำนวนนักลงทุนที่มากขึ้นด้วย

บทความวันนี้จะขอทำการวิเคราะห์รายละเอียด (Feature) ของพันธบัตรเข็มแข็ง ความน่าสนใจ/ไม่น่าสนใจ ในแง่มุมต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์พันธบัตรรัฐบาลรุ่นอื่น ๆ ที่มีเสนอขายในตลาด หรือ”พันธบัตรไทยเข็มแข็ง” ที่น่าจะมีออกมาให้คนไทยซื้อกันอย่างต่อเนื่อง

วิเคราะห์ผลตอบแทน

ลักษณะ การจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรไทยเข็มแข็งครั้งนี้เป็นแบบขั้นบันได กล่าวคือปีที่ 1,2 จ่ายดอกเบี้ย 3% ปีที่ 3 จ่ายดอกเบี้ย 4% และปีที่ 4,5 จ่ายดอกเบี้ย 5% เวลาทำการวิเคราะห์หาผลตอบแทน ถ้าจะให้ถูกต้องจริง ๆ ก็ควรใช้การคำนวณ IRR ครับ ง่าย ๆ เพียงใช้ โปรแกรม Excel และกรอกข้อมูลตามรูปครับ เริ่มต้นจากการกรอกวันที่จ่ายเงิน และวันที่รับดอกเบี้ยและเงินต้นคืนในอนาคต และใช้สูตร XIRR ของโปรแกรม Excel ซึ่งคำนวณออกมาแล้วได้ IRR หรืออัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 3.99% หรือประมาณ 4% นั่นเอง


หลาย ท่านคงเกิดคำถามว่าทำไมถึงไม่จับหารกันง่าย ๆ ไปเลย เอา 3 + 3 + 4 + 5 + 5 หารด้วย 5 ปี ก็ได้เฉลี่ยปีละ 4% คำตอบคือ เวลาคิดเร็ว ๆ ก็จับหารเลยครับ แต่ที่ลองทำคำนวณอย่างละเอียดให้ท่านดูเพราะ วิธีการคิด IRR นี้ยังมีประโยชน์ในอีกหลายแง่มุม เช่นเวลาเรามีโครงการใด ๆ ที่จะลงทุน การ คำนวณ IRR ก็เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อดูว่าผลตอบแทนของการลงทุนของเราเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ และก็ต้องไม่ลืมนำมาเปรียบเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรครับ ถ้าโครงการลงทุนที่ท่านอยากทำให้ผลตอบแทนต่ำกว่าพันธบัตรรัฐบาล ก็อย่าไปทำเลยครับ เอาเงินไปซื้อพันธบัตรยังดีกว่า ความเสี่ยงต่ำกว่าด้วย

สภาพคล่อง และช่องทางการซื้อขาย

 

มี ข้อกำหนดสำหรับการถือครองพันธบัตรไทยเข็มแข็งให้ถืออย่างน้อย 6 เดือนครับจึงจะเปลี่ยนมือได้ อ่านหนังสือพิมพ์หลายฉบับมองว่าสภาพคล่องของการลงทุนในพันธบัตรต่ำ ซึ่งเป็นความจริงครับ แต่ถ้ามาดูในเรื่องของช่องทางการซื้อขาย ในปัจจุบันสามารถทำได้หลายช่องทางมากขึ้นครับ ช่อง ทางแรกคือทำการซื้อขายผ่านธนาคารครับ โดยบางธนาคารจะมีบริการรับซื้อขายพันธบัตรในตลาดรองครับ ช่องทางที่สองคือการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทาง ตลาดหลักทรัพย์ได้มีการจัดตั้ง BEX หรือ Bond Electronic Exchange ขึ้นมาเพื่อรองรับการทำธุรกรรมการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเปิดบัญชีซื้อขายตราสารหนี้ได้ผ่านทางตัวแทน คล้าย ๆ กับการซื้อขายหุ้นครับ (สนใจศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.bex.or.th/) สรุปคือการซื้อพันธบัตรเหมาะกับการถือครองจนครบอายุครับ แต่หากก็สามารถทำการซื้อขายในตลาดรองได้เช่นกัน ผมเชื่อว่าในอนาคตสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้จะดีขึ้นเรื่อยๆ ครับจากการที่เริ่มมีนักลงทุนรายย่อยเข้ามาลงทุนมากขึ้น

 



ความน่าลงทุน
หลาย ๆ ท่านได้สอบถามผมว่าพันธบัตรไทยเข็มแข็งน่าลงทุนหรือไม่ คำถามนี้ผมขอตอบเป็น 2 ประเด็นครับ
1.เมื่อ เทียบกับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ปัจจุบันอยู่ที่ 2.90% แต่พันธบัตรไทยเข็มแข็งให้ผลตอบแทนถึง 3.99% ต่างกันถึง 1.09% เมื่อมองในประเด็นนี้จัดว่าได้ Premium ที่ดี ซึ่งถือว่าน่าลงทุนมากครับ (อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรล่าสุดดูได้จาก http://www.thaibma.or.th/)

 

2.อย่าง ไรก็ตามหามองทิศทางดอกเบี้ย ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ที่ระดับ 1.25% ซึ่งนับเป็นระดับต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ หากในปีข้างหน้าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นก็มี โอกาสที่ดอกเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งผมมองว่าพันธบัตรไทยเข็มแข็งในอนาคตยังมีอีกหลายรุ่นครับถ้าดูจาก โปรแกรมการระดมเงินของภาครัฐในช่วง 3 ปีข้างหน้า ซึ่งมีโอกาสเยอะทีเดียวครับที่ดอกเบี้ยของพันธบัตรในปีหน้าจะสูงกว่าในเวลา นี้ ดังนั้นค่อย ๆ ทยอยซื้อก็เป็นไอเดียที่ดีครับ อย่าลงทุนจนเงินหมดในทันที ของดียังมีอีกเยอะ
โดย เจษฎา สุขทิศ,CFA.
ผู้จัดการกองทุน, บลจ.อยุธยา จำกัด.
Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top