KTEF-LTF และ KTEF-RMF: กองทุนหุ้นเชิงรุก ฉับไว และทำกำไรต่อเนื่อง

แชร์บทความนี้

รุกเร็วฉับไวด้วยหุ้นหลายไซส์ ต้อง KTEF-LTF และ KTEF-RMF

เข้าสู่ช่วงปลายปีทีไร หลายคนก็กำลังมองหาตัวเลือกในการลดหย่อนภาษีด้วย LTF RMF จนนาทีสุดท้ายกันใช่ไหมล่ะครับ ผมลองมาไล่ดูสถิติกองทุนหุ้นไทยว่าในรอบ 5 ปี ที่ผ่านมา ว่ามีกองทุนหุ้นไทยไหนบ้างที่ได้ผลตอบแทนระยะยาว 5 ปี เป็นอันดับต้นๆ ก็พบว่ามีกองทุนเปิดกรุงไทย สมาร์ท อิควิตี้ ฟันด์ หรือ KTEF จากบลจ.กรุงไทย นี่ล่ะครับที่ขึ้นมาติดอันดับได้โดดเด่น พอเห็นแล้วก็นึกถึงว่าทางบลจ.กรุงไทยเพิ่งจะออกกองทุนนี้ในรูปแบบ LTF เมื่อช่วงปี 2559 และในรูปแบบ RMF เมื่อช่วงเดือน พ.ย. ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งก็คือ กองทุนเปิดกรุงไทย สมาร์ท หุ้นระยะยาว หรือ KTEF-LTF และกองทุนเปิดกรุงไทย สมาร์ท อิควิตี้ เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ KTEF-RMF นั่นเอง

รูปที่ 1 : 5 อันดับกองทุนหุ้นไทยที่ผลตอบแทนสูงที่สุด 5 ปี ย้อนหลัง (ข้อมูล ณ วันที่ 12 ธ.ค. 60)

ที่มา: Morningstar Thailand

 

ลงทุนเหมือน KTEF กองทุน 5 ดาว

โดยตัวกองทุน KTEF-LTF และ KTEF-RMF (ความเสี่ยงระดับ 6) นั้นมีนโยบายการลงทุนและสไตล์ที่เหมือนกับกอง KTEF ซึ่งได้รับ Morningstar Rating 5 ดาว  ที่ลงทุนในหุ้นไทย มีการบริหารเชิงรุก เน้นคัดเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีโอกาสการเติบโตสูง  โดยมีการกระจายการลงทุนทั้งหุ้นขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ กองทุนไม่ได้จ่ายปันผลเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการลงทุนที่เน้นเลือกหุ้นเติบโตสูง

 

ผสมการวิเคราะห์กันระหว่าง Top-down และ Bottom-up เพื่อการบริหารเชิงรุกที่ฉับไว

กลยุทธ์การบริหารกองทุนของทางทีมผู้จัดการกองทุนจะเน้นใช้วิธีการวิเคราะห์หุ้นทั้งแบบ Top-down คือมองภาพรวมของเศรษฐกิจลงมาเพื่อคัดเลือกหาธีมการลงทุนที่น่าสนใจในระดับมหภาค และแบบ Bottom-up คือการวิเคราะห์ข้อมูลบริษัทเชิงลึกในด้านปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งสอดคล้องกับกับวิธีการบริหารเชิงรุกของกองนี้มาก ๆ เนื่องจาก พอดูข้อมูลในด้านของอัตราส่วนการหมุนเวียนการลงทุน  หรือ Portfolio Turnover ratio ของกองทุน KTEF ที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกันกับ KTEF-LTF ในปีบัญชี 2559 มีอัตราส่วนดังกล่าวในระดับสูงถึง 9.98 เท่าเลยทีเดียว สะท้อนว่าทางผู้จัดการกองทุนมีการบริหารแบบเชิงรุก เร็วและฉับไว  มีการซื้อและขายทำกำไรหุ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หน้าหุ้นที่ลงทุนเปลี่ยนไปเฉลี่ยเกือบ 10 รอบ ทั้งพอร์ต ภายใน 1 ปี ซึ่งมีความเป็นสไตล์ Momentum มากกว่า Buy & Hold ตรงนี้เองสะท้อนว่าหากธีมการลงทุนทั้งแบบ Top-down หรือ Bottom-up ที่ทางทีมผู้จัดการกองทุนวิเคราะห์ไว้มีการเปลี่ยนแปลงไป ทางผู้จัดการกองทุนก็พร้อมปรับพอร์ตได้ฉับไวเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนมาได้ชัดเจนว่าตัวกลยุทธ์ที่กองทุน KTEF ใช้ สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีในระดับยอดเยี่ยมและเอาชนะตลาดได้ในระยะยาว โดยตั้งแต่จัดตั้งกองทุนสร้างผลตอบแทนได้กว่า 129% ในรอบเกือบ 6 ปี ในขณะที่ SET index สร้างผลตอบแทนไปเพียง ประมาณ 61% เท่านั้น เรียกได้ว่าชนะไปเป็นเท่าตัวเลยล่ะครับ

รูปที่ 2 : ผลตอบแทนย้อนหลังของ KTEF ตั้งแต่จัดตั้งกองทุนถึงวันที่ 12 ธ.ค. 60

ที่มา : Bisnews

 

เน้นลงทุนในหุ้นใหญ่-หุ้นกลาง ที่มีการเติบโตสูง

โดยเมื่อเจาะลึกมาที่สินทรัพย์ 5 อันดับแรกที่กองทุนลงทุน จะเห็นได้ชัดเจนว่ากองทุนมีการลงทุนผสมกันในหุ้นหลายขนาด

รูปที่ 3 : สินทรัพย์ 5 อันดับแรกที่กองทุนลงทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ต.ค. 60)

ที่มา: www.thaimutualfund.com

 

โดยหุ้นขนาดใหญ่ เช่น บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) หรือ IVL เป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี และผู้ผลิต PET รายใหญ่ระดับโลก ที่มีมูลค่ากิจการราว 2.7 แสนล้านบาท

 

หุ้นใหญ่ขนาดรองลงมาจนถึงในระดับปานกลาง เช่น บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA ผู้นำธุรกิจสีทาบ้าน ที่มีแผนขยายกิจการในระดับภูมิภาคอาเซียน  มีมูลค่ากิจการราว 6.3 หมื่นล้านบาท

 

บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM ผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ในไทย มีแผนขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง มีมูลค่ากิจการราว 6.7 หมื่นล้านบาท

 

ในส่วนของหุ้นขนาดกลางที่น่าสนใจ เช่น บริษัท เมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ MEGA ผุ้นำในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และยา มีการขยายกิจการทั้งในไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดกลุ่ม CLMV มีมูลค่ากิจการราว 3.4 หมื่นล้านบาท

ที่มา www.set.or.th ข้อมูล ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2560

เมื่อดูโดยภาพรวมแล้วส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในหุ้นหลายขนาดที่มีการเติบโตที่สูง

 

ผลตอบแทนระยะยาวเด่น เทียบกับความเสี่ยงแล้วคุ้มค่า

อีกมุมหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือเมื่อลองพิจารณาจากสถิติข้อมูลในอดีตของกองทุน KTEF ด้วย Finnomena 3D Diagram จะเห็นได้ชัดเจนว่ากองทุนได้คะแนนด้านผลตอบแทนค่อนข้างดีมากโดยเฉพาะในระยะยาว ในขณะที่ด้าน Maximum drawdown อาจจะต่ำลงมาบ้าง แต่เมื่อดูผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยงหรือความผันผวนแล้ว เรียกได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่โดดเด่นเลยครับ

 

รูปที่ 4 : ผลการเปรียบเทียบกองทุน KTEF ด้วย Finnomena 3D Diagram (ข้อมูล ณ 12 ธ.ค. 60)

ที่มา: Finnomena

 

ในส่วนของด้านค่าธรรมเนียม ปัจจุบันกองทุนมีค่าใช้จ่ายรวมราว 2.12% สูงกว่า กองทุน LTF โดยทั่วไป อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นดังกล่าวก็สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารกองทุนแบบเชิงรุก ฉับไว  มี Turnover ratio ในระดับสูง ที่มีการปรับพอร์ตให้เข้ากับสภาวะตลาด เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ชนะตลาดตามเป้าหมายของกองทุน

 

 สรุปจุดเด่นที่สำคัญของ KTEF-LTF และ KTEF-RMF

โดยสรุปแล้วผมมองว่า KTEF-LTF และ KTEF-RMF เองมีจุดเด่นอยู่หลายด้านที่น่าสนใจและน่าจะตอบโจทย์การลงทุนของหลายคน คือ

  1. กองทุนเน้นลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่และกลาง ที่มีการเติบโตสูง
  2. กลยุทธ์การลงทุนมีการวิเคราะห์แบบผสมทั้ง Top-down และ bottom-up
  3. กองทุนมีสไตล์การบริหารเชิงรุกที่ฉับไว เข้ากับสภาวะตลาด เหมาะกับนักลงทุนที่เชื่อในฝีมือผู้จัดการกองทุน หรือ ชอบการลงทุนในแนวที่เน้นไปทางโมเมนตัมมีการปรับพอร์ตสม่ำเสมอ มากกว่าแนวถือยาวและไม่ค่อยปรับพอร์ตเขิงรุก
  4. มี Track record ในกองที่มีนโยบายการลงทุนเหมือนกันคือ KTEF ที่สร้างผลตอบแทนได้ดีเยี่ยมในระยะยาว 5 ปี และได้รับรางวัล Morningstar Overall Rating 5 ดาว

 

และทั้งหมดนี้ก็เป็นการรีวิวอีกหนึ่งกองทุนหุ้นไทยที่ฝีมือดีในระยะยาว และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับกองทุน LTF และ RMF ที่สามารถใช้หักลดหย่อนภาษีได้ครับ

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อขอข้อมูลได้กับทาง บลจ.กรุงไทย โทร  0-2686-6100  หรือเข้าไปดูข้อมูลผ่านทางเวบไซต์ https://www.ktam.co.th/  ครับผม

 

  • ความเสี่ยงที่สำคัญคือ ความเสี่ยงทางตลาดจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร

 

  • การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงและศึกษาคู่มือการลงทุนในกองทุน LTF RMF ก่อนการตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด หากผู้ลงทุนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับ พร้อมชำระเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร
  • ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต
  • การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน
  • การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง
  • ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น

FundTalk รายงาน

 

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top