InvestmentTalk – รับมือการเข้าสู่ Aging Society ด้วยการจัดพอร์ตแบบ “สมดุลตามอายุ”

แชร์บทความนี้

จากการศึกษาของสภาพัฒน์ฯ ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ยุค “สังคมผุ้สูงอายุ (Aging Society)” จากปัจจุบันที่มีประชากรที่มีอายุสูงกว่า 65 ปีขึ้นไปที่ประมาณ 9% จะทยอยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็น 25% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ 2583 นอกจากนี้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ได้ทำการศึกษาเช่นกันว่าผู้สูงอายุชาวไทยในปัจจุบัน มีมากถึง 2 ใน 3 ที่ไม่มีเงินออม ส่วนที่มีเงินออมมากกว่า 1 ล้านบาทนั้นมีเพียง 5% ของจำนวนผุ้สูงอายุทั้งหมด ขณะที่สวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุของประเทศไทยยังมีอยู่ในระดับจำกัด ผมเชื่อว่าหลาย ๆ ท่านที่อ่านบทความฉบับนี้ก็กำลังจะเข้าสู่ “วัยสูงอายุ” ไม่ช้า ก็เร็ว ดังนั้น ผมขอเชิญชวนทุกท่านมาให้ความสำคัญกับเรื่องการออม การลงทุน เพื่อรับกับ Mega Trend ของประเทศไทยที่กำลังจะมาถึงนี้ครับ

ทำไมต้องจัดพอร์ตลงทุน

  • ข้าวราดแกงวันนี้ราคาจานละ 35 บาท ถ้าท่านเกษียณในอีก 30 ปีข้างหน้า หากคิดอัตราเงินเฟ้อที่ 3% ข้าวแกงจะราคาเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัวเป็น 85 บาท
  • หากคุณคิดว่าหลังเกษียณอยากมีเงินใช้ซักเดือนละ 3 หมื่นบาท จริง ๆ คุณต้องมีประมาณเดือนละกว่า 7 หมื่นบาทในยามสูงอายุ เพราะราคาข้าวของที่แพงขึ้น
  • ถ้าคุณตั้งใจจะเลี้ยงดูตัวเองในยามเกษียณ จำนวนเงินที่ต้องมี ณ วันสิ้นสุดการทำงานอยู่ที่ประมาณ 20 ล้านบาท หลาย ๆ ท่านอาจรู้สึกว่าจำนวนเงินขนาดนี้เยอะเกินกว่าจะหาได้ แต่ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ครับ
  • ถ้าคุณโชคดีมีมรดกอยู่ 1 ล้านบาทวันนี้ หากนำเงินไปลงทุนได้ 3% ทุกปี อีก 30 ปีจะเพิ่มมูลค่ากว่าสองเท่าตัวเป็น 2.4 ล้านบาท แต่หากลงทุนได้ผลตอบแทนปีละ 10% อีก 30 ปีจะเพิ่มมูลค่าเกือบยี่สิบเท่าตัวเป็น 17.4 ล้านบาท
  • จากตัวเลขข้างต้น สรุปได้ว่า ท่านที่เริ่มลงทุนตั้งแต่วันนี้อย่างถูกวิธี จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดี และมีเงินเพียงพอใช้ในยามสูงอายุครับ

จัดพอร์ตแบบ “สมดุลตามอายุ (Target Date Retirement Plan)”

ต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่ ไม่ได้มีเวลามากที่จะติดตามการลงทุน หลาย ๆ ท่านไม่ได้มีเวลาพอมาศึกษาว่าควรมีพอร์ตที่ลงทุนในหุ้นกี่เปอร์เซนต์ ลงพันธบัตรสั้นหรือยาว ควรปรับเพิ่มลดตอนไหน จึงเป็นที่มีของการจัดพอร์ตแบบ “สมดุลตามอายุ” ซึ่งแนวทางคือนักลงทุนเพียงแต่ระบุ “อายุเกษียณ” ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะทำหน้าจัดพอร์ตให้เหมาะสมกับระยะเวลาการลงทุน หากระยะเวลาการลงทุนยาวจะสามารถรับความเสี่ยงได้ค่อนข้างสูง ก็ควรมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นมากหน่อย หากใกล้จะเกษียณแล้วก็ควรจะลดระดับความเสี่ยงลงเพื่อรักษามูลค่าของเงินที่จะต้องนำไปใช้ในยามสูงอายุ

ScreenHunter_06 Nov. 07 15.58

จากแผนภาพข้างต้นเป็นการปรับลดระดับความเสี่ยงตามแนวคิดการจัดพอร์ตแบบ “สมดุลตามอายุ”  ซึ่งมีการลงทุนที่มีระดับความเสี่ยงค่อนข้างสูงในช่วงที่นักลงทุนอยู่ในวัย 20 – 45 ปี หลังจากนั้นจะทำการปรับลดความเสี่ยงของพอร์ตค่อนข้างเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 5 – 10 ปีสุดท้าย ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้นักลงทุนมีโอกาสสร้างผลตอบแทนในระดับสูงเป็นระยะเวลานานหลายปี และเป็นกุญแจสำคัญอันหนึ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายทางการเงินครับ

กองทุนบำนาญ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กับการจัดพอร์ตแบบ “สมดุลตามอายุ”

ผู้เขียนมองว่าการจัดพอร์ตแบบ “สมดุลตามอายุ” เหมาะสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำนาญ รวมไปถึงกองทุนประเภท LTF และ RMF เนื่องจากเป็นการลงทุนระยะยาว และมีเป้าหมายเพื่อการเกษียณ สิ่งสำคัญคือ นักลงทุนต้องเริ่มปรับทัศนคติการลงทุน ลดความหวั่นไหวต่อความผันผวนระยะสั้น และให้ความสำคัญหลักกับการสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ควบคู่กับการปรับระดับความเสี่ยงการลงทุนที่เหมาะสม ในปัจจุบันเริ่มมีบางหน่วยงานสำคัญด้านการออมเริ่มนำเสนอการจัดพอร์ตแบบ “สมดุลตามอายุ” และในอนาคตน่าจะได้เห็นการลงทุนลักษณะนี้มีความแพร่หลายมากขึ้น ในการนี้ บลจ. ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล ก็ขอเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอผลิตภัณฑ์การจัดพอร์ตแบบ “สมดุลตามอายุ (Target Date Retirement Plan)” เพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยสู่ยุค Aging Society ที่กำลังจะมาถึงครับ

เจษฎา สุขทิศ, CFA

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top