InvestmentTalk – ปรับพอร์ตรับมือความไม่แน่นอนทางการเมือง 2557

แชร์บทความนี้

ก้าวเข้าสู่ปี 2557 กันแล้วนะครับ เรียกได้ว่าเป็นการเปิดปีใหม่ที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับตลาดทุนประเทศไทยบ้านเรา โดยปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองได้กดดันดัชนีตลาดหุ้นให้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2556 ที่ผ่านมา ประกอบกับประเด็นเรื่องการลด QE ของทางสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติลดการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นปีที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เกือบ 2 แสนล้านบาท

 

ความไม่แน่นอนทางการเมืองของประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Market)

แปลกแต่จริง ที่ ณ เวลานี้ความไม่แน่นอนทางการเมือง ได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในหลายประเทศในกลุ่ม Emerging Market มากที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากประเทศไทยเราก็มีอีกหลายประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาด้านการเมือง ตัวอย่างเช่น

  • ตุรกี –มีการประท้วงเกิดขึ้นต่อเนื่องในปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องการคอรัปชั่นของรัฐบาล และล่าสุดกำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนมีนาคม 2557 ซึ่งปัญหาอาจทวีความรุนแรงมากขึ้นหากมีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล
  • อินโดนีเซีย – มีการประท้วงกันในเรื่องการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในประเทศ ค่าเงินรูเปียอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และกำลังจะมีการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมนี้
  • กัมพูชา – มีปัญหาการประท้วงของประชาชนที่ลากยาวมาจากกลางปี 2556 เกี่ยวกับเรื่องผลการเลือกตั้งในปี 2556 ซึ่งพรรคฝ่ายค้านมองว่ามีการโกงการเลือกตั้ง

นอกจากสามประเทศที่กล่าวถึง ยังมีปัญหาการเมืองเกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม Emerging Market อีก เช่น ยูเครน บังคลาเทศ พม่า ซึ่งมาเกิดขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกันในรอบ 1 – 2 ปีที่ผ่านมา

 ScreenHunter_08 Jan. 29 09.24

การกระจายการลงทุนคือคำตอบ

แม้ตลาดหุ้นของประเทศกลุ่ม Develop Market จะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปมากพอสมควรในปี 2556 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองของประเทศกลุ่ม Emerging Market ข้างต้น การกระจายเงินลงทุนในส่วนของพอร์ตที่เป็นการลงทุนในหุ้นไปยังประเทศอย่าง ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป และเอเชียเหนือ ยังเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในปี 2557 โดยผู้เขียนมองประเทศที่น่าสนใจมีดังนี้

  • ญี่ปุ่น – มีนโยบายการทำ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องสูงถึงประมาณ 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมไปถึงการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ น่าจะทำให้ดัชนีหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องยุโรป
  • ยุโรป – เริ่มเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยหลายประเทศที่มีปัญหาวิกฤตหนี้เริ่มทยอยชำระคืนหนี้ได้บางส่วน การเติบโตของเศรษฐกิจเริ่มพลิกกลับมาเป็นบวกหลังจากมีเศรษฐกิจถดถอยในปีที่ผ่านมา
  • เอเชียเหนือ – ประเทศอย่างเกาหลี หรือไต้หวัน ที่ไม่มีปัญหาด้านการเมือง และได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าในกลุ่ม Technology และรถยนต์ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ Valuation ของตลาดหุ้นยังจัดว่าไม่แพง

สำหรับตลาดหุ้นไทยซึ่งราคาปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก น่าจะเป็นจังหวะให้นักลงทุนทยอยลงทุนระยะยาวแบบไม่ต้องรีบร้อน ทั้งนี้ต้องติดตามปัญหาการเมืองในประเทศอย่างใกล้ชิดว่าจะมีแนวโน้มคลี่คลายลงเมื่อใด ตลาดหุ้นก็น่าจะปรับตัวฟื้นขึ้นได้อย่างชัดเจน ดังนั้นในเวลานี้การกระจายการลงทุนไปยังหุ้นต่างประเทศจึงเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจครับ

เจษฎา สุขทิศ

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top