EconomicTalk – สหกรณ์ออมทรัพย์ ในมุมมองด้านการเงิน

แชร์บทความนี้

ขออนุญาตเขียนเรื่องที่ไม่ in trend เท่าไหร่ เมื่อเทียบเรื่องของการลงทุน ภาวะเศรษฐกิจโลก ฯลฯ  แต่ถือว่าเป็นเรื่องนอกกระแส เผื่อบางท่านที่ว่าง ๆ อาจลองอ่านดูนะครับ

คนไทยส่วนใหญ่รู้จักสหกรณ์ดี แต่ถ้าถามลึกไปอีกหน่อยว่ารู้จักเพราะอะไร คำตอบส่วนใหญ่ก็คงบอกว่า เห็นตรงประตูรถแทกซี่ ถ้าให้อธิบายถึงความรู้สึกที่มีต่อสหกรณ์ ผู้อ่านหลายท่านคงบอกว่า ไม่รู้เหมือนกัน มันเป็นอะไรที่เทา ๆ เหมือนดินแดนสนธยา ทั้ง  ๆ ที่ในความเป็นจริง ระบบสหกรณ์ของประเทศไทย มีสินทรัพย์อยู่ที่ 4 ล้านล้านบาท (ในขณะที่ยอดรวมของสินทรัพย์ของกองทุนรวมทั้งประเทศอยู่ที่ 1 ล้านล้านบาท, ข้อมูล พฤษภาคม 2554) มีคนที่เกี่ยวข้องมากกว่า 10 ล้านคน หรือ สิบกว่าเปอร์เซนต์ของประเทศ  แต่ทำไม เราถึงรู้เรื่องสหกรณ์น้อยเหลือเกิน และมันควรที่เราจะรู้หรือไม่

จริง ๆ และสหกรณ์มันคือระบบเศรษฐกิจระบบหนึ่ง ที่มีคนพยายามที่จะออกแบบมันขึ้นมา เพื่อตอบโจทย์บางข้อ ถ้าย้อนไปดูเรื่องระบบเศรษฐกิจ ก็จะพบว่า มันมีอยู่ 2 แนวคิดคือเรื่องทุนนิยม (capitalism) และ สังคมนิยม (socialism) ทั้ง 2 ระบบก็มีข้อดีและข้อเสีย และหากพิจารณาถึงสถานการณ์ในปัจจุบันก็คงต้องบอกว่า ทุนนิยมคงเป็นกระแสหลักของเศรษกิจของโลกเรา

แต่อย่างไรก็ตาม ทุนนิยมก็มีข้อด้อยที่สำคัญคือ มันสร้างความไม่เท่าเทียมกัน คนที่รวย ก็มีโอกาสที่จะรวยยิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ในขณะที่คนจน ก็มีโอกาสน้อยที่จะได้รับประโยชน์จะระบบเศรษฐกิจ และช่องว่างก็ห่างกันมากขึ้น

คนที่คิดเรื่องระบบสหกรณ์ขึ้นมา ก็คงมีความพยายามที่จะหาระบบที่มันยังคงความสามารถในการแข่งขัน ในขณะที่เปิดโอกาสให้คนที่ไม่ได้ร่ำรวย มีทุนทรัพย์มาก ได้มีโอกาสทางธุรกิจขึ้นมา และหวังว่า มันจะสามารถแข่งขันกับระบบทุนนิยมได้ในระดับหนึ่ง กว่าที่จะมาถึงวันนี้ ระบบสหกรณ์ก็มีการลองผิดลองถูกหลาย ๆ อย่าง บางเรื่อง โดยแนวคิด เป็นเรื่องดี แต่พอปฏิบัติจริงก้ไม่รอด จนมาถึงทุกวันนี้ก็ทำให้ระบบสหกรณ์มีการหาจุดที่พอเหมาะ

อย่างที่เขียนไว้ข้างต้นว่า สหกรณ์เป็นแนวคิดด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช่ธุรกิจ ดังนั้น สหกรณ์ก็มีหลายแบบ ไม่ได้จำกัดเฉพาะ สหกรณ์ออมทรัพย์หรือสหกรณ์แทกซี่ ตัวอย่างเช่น ระบบทุนนิยม อาจมี CP หรือ สหฟารม์ etc สหกรณ์ก็จะมี สหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ ระบบทุนนิยม มี BIG C LOTUS สหกรณ์ก็มีสหกรณ์ร้านค้า หรือถ้าเทียบกับพวก Leasing สหกรณ์ก็มีสหกรณ์แทกซี่ ส่วน Bank ก็มีสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกัน แต่สิ่งที่แยกจาก บริษัทในโลกทุนนิยม ก็คือ วิธีการจัดการบางอย่าง ที่จะคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และให้โอกาสคนจนได้พอสมควร

คราวนี้มาดูกันว่า อะไรที่ทำให้สหกรณ์ ต่างจากบริษัท และกลไกนั้นมันมีข้อดีข้อด้อยอย่างไร

  •  สหกรณ์ ใช้ระบบ one man- one vote ในขณะที่บริษัท ใช้สิทธิของผู้ถือหุ้นตามจำนวนหุ้นที่ถือครอง

แค่ประเด็นนี้ประเด็นเดียวก็แทบจะต้องเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารจัดการทีเดียว  สหกรณ์เลือกที่จะใช้ระบบ one man one vote เพื่อที่จะเปิดโอกาสให้คนที่มีทุนทรัพย์น้อย เข้าไปมีบทบาทในการบริหารจัดการ หากคน ๆ นั้นได้รับความไว้วางใจจากเจ้าของ(ผู้ถือหุ้น)เป็นส่วนใหญ่ แน่นอนว่าข้อดีก็คือให้โอกาสทุกคน (ไม่ว่ารวยหรือจน) แต่ข้อด้อยก็มีเยอะ เช่น เมื่อผู้บริหาร ไม่ใช่คนที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ บางครั้ง แรงจูงใจทางธุรกิจ อาจน้อยกว่า เช่น เป็นไปได้ที่จะเห็นแก่ประโยชน์ของตนเอง มากกว่าประโยชน์องค์กร (หรืออาจกล่าวได้ว่า มี agency cost ที่สูง)

วิธีการแก้ ก็คงต้องเป็นเรื่อง good governance และการมีส่วนร่วมของสมาชิก หรือผู้ถือหุ้น ที่เป็นคนเลือกเข้ามา เพราะหากไม่มีการควบคุม ก็ทำให้องค์กรที่ใช้ระบบสหกรณ์นั้นเกิดความเสียหายได้

  • การจำกัดอัตราเงินปันผล

คำว่าจำกัดอัตราเงินปันผล หมายถึงว่า สหกรณ์ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลในอัตราสูง ๆ (เมื่อเทียบกับหุ้น) ได้ เช่น ในประเทศไทยกำหนดไว้ว่า สหกรณ์ปันผลได้ไม่เกิน 10 % ของราคาหุ้น หรือ ปันผลไม่เกิน 1 บาทจากหุ้นราคาพาร์ 10 บาท

เหตุผลที่สำคัญของการจำกัดอัตราเงินปันผลก็เพื่อที่จะให้สหกรณ์ จัดสรรกำไรที่เกินไปกว่านั้น ไปเพื่อจุดประสงค์อื่น ๆ เช่น การจัดสรรเป็นทุนสำรอง (อันนี้คงเหมือนบริษัททั่วไป) หรือการจัดสรรเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกผู้ถือหุ้น เพราะ การส่งกำไรสุทธิกลับไปยังผู้ถือหุ้น คนที่มีหุ้นมาก ก็จะได้ประโยชน์มากกว่าคนที่่มีหุ้นน้อย ดังนั้น การส่งกำไรสุทธิผ่านไปยังสมาชิก โดยระบบสวัสดิการ ก็จะเป็นการกระจายกำไรโดยที่คนที่มีฐานะดี ได้เท่ากันกับคนที่มีฐานะไม่ดี ซึ่งเป็นการลดช่องว่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น

คราวนี้พอการส่งกำไรสุทธิไปยังผู้ถือหุ้น มีข้อจำกัด มันก็เริ่มมีปัญหา เช่น ถ้าสหกรณ์จ่ายเงินปันผลในอัตราที่ต่ำเกินไป ในฐานะคนที่ลงทุนในการซื้อหุ้นสหกรณ์ ก็จะไม่อยากซื้อหุ้น เพราะผลตอบแทนไม่ชดเชยต้นทุนทางการเงินและความเสียง ก็จะส่งผลต่อโครงสร้างทางการเงินของสหกรณ์ได้ แต่หากจัดสรรกำไรให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเดียว ไม่จัดด้านสวัสดิการ ก็ไม่ใช่ระบบสหกรณ์  ดังนั้นการจัดสรรกำไรสุทธิจึงเป็นประเด็นสำคัญในการบริหารสหกรณ์ เพราะต้องรักษาสมดุลระหว่างความพึงพอใจของผู้ถือหุ้นกับเป้าหมายในเชิงแนวคิดในการลดช่องว่าง

  • สหกรณ์มีการเพิ่มหุ้นได้ไม่จำกัด โดยให้มีการซื้อหุ้นเป็นรายเดือน (จำกัดจำนวนสูงสุดต่อเดือน) และขายคีนได้เมื่อลาออก

 

เรื่องหุ้นของสหกรณ์ เป็นอะไรที่อธิบายให้คนที่ไม่รู้จักสหกรณ์ เข้าใจได้ยากพอควร เพราะหุ้นสหกรณ์ สามารถซื้อได้เรื่อยๆ  ไม่จำกัด และเมื่อลาออก ก็จะได้เงินค่าหุ้นคืนจากสหกรณ์ ไม่ต้องไปหาแหล่งขายออก เหมือนหุ้นบริษัท แนวคิดหลาย ๆ อย่าง จึงไม่ตรงไปตรงมา ตัวอย่างเช่น

– ถ้าเพิ่มหุ้นไม่จำกัด อย่างนี้ dilution effect ก็เยอะเลยสิ  ก็คงจริงส่วนหนึ่ง แต่ทุกคนก็มีสิทธิในการที่จะซื้อหุ้นเพิ่ม นอกจากนี้ เมื่อจะลาออก ก็ยังได้หุ้นคืนในราคาพาร์ ก็ช่วยลดผลกระทบไปได้ (อย่างงี้ใครกำไร ขาดทุน ?)

-มองอีกมุม สหกรณ์ก็จะเข้มแข็ง (หรือมีโครงสร้างทางการเงินที่ดีขี้น) เพราะส่วนผู้ถือหุ้นจะสูงขึ้นทุก ๆเดือน  ก็คงเป็นจริงบางส่วน เพราะอย่างที่กล่าวข้างต้นคือ หุ้นสหกรณ์สามารถขายคืนได้เมื่อลาออก หากพิจารณาถึงพฤติกรรมของมันจริงๆ  ก็ไม่น่าจะนับว่าเป็นส่วนทุน น่าจะมีลักษณะของหนี้มากกว่า (หรือหากเทียบกับแบงค์ ก็เทียบได้กับพวก Tier 2 อะไรทำนองนี้ เพราะมันไม่ได้มั่นคงและรับความเสียหายได้แบบ 100% เหมือนกับหุ้นทุน) ตัวที่ทำหน้าที่เป็นทุนจริงๆ  ของสหกรณ์ ก็คงเป็นที่ทุนสำรอง ซึ่งไม่สามารถเอาออกไปได้ ดังนั้นสหกรณ์จึงจะต้องมีการจัดสรรกำไรเป็นทุนสำรองในอัตราที่มากพอควร (กฏหมายกำหนดให้ไม่ต่ำกว่า 10 % ของกำไร)

-ถ้ามีโจทย์ถ้าว่า เราจะทำ valuation หุ้นของสหกรณ์ได้อย่างไร คำตอบน่าจะออกไปในแนวว่า ด้วยพฤติกรรมของมัน คล้ายกับ Preferred stock มากกว่า equity  แต่การที่เงินปันผลแต่ละปีมันไม่แน่นอน ก็อาจต้องมีส่วนชดเชยความเสียงเพิ่มไปอีกสักหน่อย

มาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงมองว่า ถ้ามันยุ่งยากขนาดนั้น ไปเปิดบริษัทธรรมดาไม่ง่ายกว่าเหรอ  จริง ๆ สหกรณ์ก็มีแต้มต่อจากรัฐพอสมควรเช่น

  • สหกรณ์ไม่ต้องเสียภาษี
  • เงินปันผลไม่เสียภาษี
  • คนที่ฝากเงินกับสหกรณ์ไม่เสียภาษี

Tax exempt ของสหกรณ์ก็เป็นอะไรที่จูงใจพอควร จูงใจขนาดที่ว่า แม้แต่ธนาคารก็ยังมีสหกรณ์ออมทรัพย์ของพนักงานธนาคารอยู่หลายแห่ง (เช่นแบงค์ม่วง แบงค์ชมพู แบงค์ส้ม เป็นต้น)

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
MBA CISA 2// in the middle of no where.// pantip : krit587// twitter : @krit587
Posts created 2

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top