ลงทุนหุ้นอย่างไรเมื่อนโยบายการเงินเปลี่ยนทิศ กับ M-EDGE

M EDGE_Fundtalk
แชร์บทความนี้

 

ผ่านมานานเกือบ 2 ปีนับตั้งแต่โลกของเราได้รู้จักกับ COVID-19 ที่แพร่ระบาดครั้งแรกในช่วงปลายปี 2019 ก่อนที่จะแพร่ระบาดสู่ทั่วโลกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ที่ผ่านมากลายเป็นการแพร่ระบาดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อระบบเศรษฐกิจและการลงทุนอย่างมาก ส่งผลให้รัฐบาลทั่วโลกต่างพร้อมใจผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์

รูปที่ 1 เปรียบเทียบขนาดของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (หน่วย: % ต่อ GDP) ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของรัฐบาลประเทศต่างๆ กับช่วงวิกฤติปี 2008 | Source : Mckinsey

 

ทั้งนโยบายการคลังที่คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจถึง 14-28% ของ GDP ขณะที่กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 9-10% ของ GDP ซึ่งมากกว่าการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ปี 2008 ถึง 3 เท่า และมาตรการการเงินจำนวนมหาศาลเพื่อเสริมสภาพคล่องในตลาดการเงินไม่ให้ตึงตัวมากเกินไปในยามที่ตลาดมีความกังวลและต้องการเงินทุน หรือสภาพคล่องในระดับที่สูง

 

ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกที่ดูซบเซาในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในลักษณะ V-Shape โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอาทิ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ที่สามารถเข้าถึงวัคซีนต้าน COVID-19 และมีศักยภาพในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มากกว่า พร้อมกันนั้นก็ทำให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วสูงสุดกว่า 100% ในส่วนของ MSCI World และ 91% สำหรับ MSCI Emerging Markets นับตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2020 ที่ผ่านมา

รูปที่ 2 อัตราเงินเฟ้อ สหรัฐฯ และ สหภาพยุโรป | Source : FINNOMENA, Bloomberg as of 31/10/2021

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ย่อมมาพร้อมอัตราเงินเฟ้อในระดับที่สูงขึ้น เราจึงเริ่มเห็นเหล่าธนาคารกลางสำคัญประกาศจะเริ่มทยอยลดการอัดฉีดสภาพคล่องลงเพื่อควบคุมให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับที่เหมาะสม ไม่ร้อนแรงจนเกินไป การประชุมล่าสุดของ 2 ธนาคารกลางสำคัญ อันประกอบไปด้วย ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) และยุโรป (ECB) ประกาศว่าจะเริ่มทยอยลดการเสริมสภาพคล่อง (QE Tapering) ในช่วงสิ้นปี 2021 และต้นปี 2022 นี้ ตามลำดับ พร้อมทั้งระบุว่าจะไม่รีบร้อนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

 

รูปที่ 3 อัตราดอกเบี้ยทั่วโลก และ แนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ถึงมีนาคม 2021 | Source : Visual Capitalist, New York Life Investment As of 13/05/2021

 

ในภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวควบคู่กับมาตรการลดการอัดฉีดสภาพคล่องหรืออาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคต มีโอกาสที่ภาพตลาดหุ้นโลกในระยะข้างหน้า จะเป็นในลักษณะของการขยายตัวควบคู่กับความผันผวนที่สูงขึ้น ประกอบกับแนวโน้มภาวะอัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ที่ระดับต่ำและมีโอกาสกลับไปสูงมากได้ยาก แม้ธนาคารกลางจะใช้นโยบายลดสภาพคล่อง ซึ่งก่อให้เกิดเป็น TINA Effect (There is no alternative) หรือ การที่นักลงทุนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากหุ้น ที่จะให้ผลตอบแทนที่ดี ทำให้การลงทุนในหุ้นยังคงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและจำเป็น เพื่อให้ผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุน นั้นสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมาย หรืออย่างน้อยที่สุดก็เอาชนะอัตราเงินเฟ้อซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการลดทอนมูลค่าเงินในกระเป๋า หรือ พอร์ตการลงทุนของทุกๆ ท่าน

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนทิศของนโยบายการเงินอาจนำไปสู่ แนวโน้มการเติบโตของตลาดหุ้นที่มาพร้อมความผันผวนที่สูงขึ้น ดังนั้น การคัดเลือกหุ้น (Stock Selection) และการควบคุมความเสี่ยง (Risk Management) จึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

M-EDGE เลือกหุ้นผู้ชนะ สร้างผลตอบแทนแม้นโยบายการเงินเปลี่ยนด้าน

 

M-EDGE กองทุนใหม่จาก บลจ. MFC ซึ่งลงทุนในกองทุนหลัก BGF Global Long-Horizon Equity Fund คือกองทุนที่จะตอบโจทย์การลงทุนดังกล่าว ด้วยปรัชญาการลงทุนที่สำคัญ 4 ข้อด้วยกันคือ

  1. Long term focus  

โฟกัสที่การลงทุนระยะยาว ซึ่งหมายถึงการผ่านวัฏจักรเศรษฐกิจทั้งช่วงขยายตัว ชะลอตัว และหดตัวอันนำไปสู่นโยบายการเงินที่เปลี่ยนแปลงล้อไปกับทิศทางเศรษฐกิจ ทั้งการปรับลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรง ทำให้การเลือกหุ้นที่จะลงทุนนั้น ต้องทนทานต่อวัฏจักรเศรษฐกิจ ภาวะอัตราเงินเฟ้อ และการปรับทิศทางนโยบายการเงินเป็นดอกเบี้ยขาขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าพอร์ตการลงทุนก็มีโอกาสที่จะสร้างผลตอบแทนดีกว่าภาพรวมของดัชนีเปรียบเทียบอย่าง MSCI ACWI ได้ ไม่ว่าจะในวัฏจักรเศรษฐกิจแบบใดก็ตาม

  1. Fundamental Focus 

วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเชิงลึกเพื่อให้ได้หุ้นคุณภาพดี มีความได้เปรียบด้านการแข่งขัน (Competitive Advantage) เหนือกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งหมายถึงการเป็นหุ้นผู้ชนะในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ และการเน้นลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนำไปสู่กระแสเงินสดของกิจการที่ดี เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยการนำกระแสเงินสดเหล่านั้นไปลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มมูลค่าของกิจการอยู่เสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทดังกล่าวจะสามารถสร้างมูลค่าและผลตอบแทนที่ดีได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว (Ensure Sustainable Value Creation) แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีระดับมูลค่า (Valuation) ที่น่าสนใจและเหมาะสม พร้อมด้วยการวิเคราะห์ผลตอบแทนย้อนหลังว่ามีความโดดเด่น และสามารถเอาชนะดัชนีเปรียบเทียบอย่าง MSCI ACWI ได้หรือไม่เพื่อให้มั่นใจได้ว่าหุ้นของบริษัทเหล่านั้นมีศักยภาพเติบโต (Growth Potential) ที่ดีกว่าและผันผวนต่ำกว่าในระยะยาว

 

  1. High Conviction, Concentrate 

รูปที่ 4 BGF Global Long-Horizon Equity Portfolio | Source : Blackrock as of 30/09/2021

 

เพื่อสร้างผลตอบแทนให้ดีกว่าดัชนีเปรียบเทียบอย่าง MSCI ACWI ทั้งในยามที่ตลาดเป็นขาขึ้นและขาลง (Deliver Alpha) กองทุนมีปรัชญาในการลงทุนแบบ High Conviction หรือการลงทุนแบบโฟกัสที่เน้นไปยังหุ้นที่ทีมผู้จัดการกองทุนมองว่าดีที่สุดเพียง 20-30 ตัวเท่านั้นจากหุ้นจำนวนมากทั่วโลก พร้อมด้วยมาตรการจัดการ และกระจายความเสี่ยงแบบเข้มข้นอันประกอบไปด้วย

 

การมี Sell Discipline หรือเกณฑ์ในการเลิกลงทุน หรือขายหุ้นนั้นๆ ที่ชัดเจน อาทิ

  • เมื่อหุ้นเหล่านั้นมีระดับ Valuation ที่แพงมากเกินไป หรือ มีการเปลี่ยนรูปแบบกิจการอันทำให้ Upside หรือโอกาสสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนไม่เหลืออีกต่อไป
  • เมื่อสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์เกินเกณฑ์ที่กำหนด อันประกอบไปด้วย การถือครองหุ้น 1 ตัวได้ไม่เกิน 10% ของพอร์ตการลงทุน และการถือครองหุ้นใน 1 อุตสาหกรรมได้ไม่เกิน 30% ของพอร์ตการลงทุน เพื่อป้องกันความเสี่ยงทั้งในแง่ของสภาพคล่อง และ ความกระจุกตัวที่อาจเกิดขึ้นจากนโยบายการลงทุนแบบ High Conviction ได้อยู่แล้ว
  • เมื่อมีโอกาสการลงทุนที่ดีกว่า หากมีหุ้นของบริษัทใดๆ ที่น่าสนใจมากกว่าทั้งในแง่ของ Upside ที่มากกว่า และ การกระจายการลงทุนที่ดีกว่า

 

มีการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อบริหารความเสี่ยงทุกการลงทุน อาทิ

  • ประเมินสมมติฐานและแนวคิดก่อนการเข้าลงทุนในหุ้นตัวใดก็ตาม ทั้งในแง่ของกรณีที่ดีที่สุดและกรณีแย่ที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อนำไปสู่น้ำหนักการลงทุน และการกระจายการลงทุนที่เหมาะสม
  • ประเมินความเสี่ยง และ Portfolio Characteristics ของกองทุนรายวัน เพื่อนำไปสู่การปรับน้ำหนักการลงทุนให้เหมาะสม
  • กระจายพอร์ตการลงทุนในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม และภูมิภาค เพื่อรับโอกาส และกระจายความเสี่ยงในหลายมิติ อาทิ ความเสี่ยงเรื่องวัฏจักรเศรษฐกิจที่จะส่งผลดีและเสียต่อหุ้นในแต่ละอุตสาหกรรมและภูมิภาคที่แตกต่างกัน

ด้วยปรัชญาแบบ High Conviction ประกอบกับการบริหารความเสี่ยงอย่างเข้มข้น นักลงทุนจะมั่นใจได้ว่าพอร์ตการลงทุน  จะสามารถสร้าง Alpha หรือผลการดำเนินงานที่ดีกว่าดัชนีเปรียบเทียบได้ทั้งในยามที่ตลาดเป็นขาขึ้นและลง

 

  1. High Alpha

รูปที่ 5 BGF Global Long-Horizon Equity Performance to Benchmark (MSCI ACWI) | Source : Blackrock As of 30/09/2021

 

ส่งผลให้พอร์ตการลงทุนมีการปรับน้ำหนักการลงทุนให้เหมาะกับโอกาสและความเสี่ยงอยู่เสมอ ทำให้กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาว 10 ปี ได้ถึง 12.9% ต่อปี มากกว่าดัชนีเปรียบเทียบอย่าง MSCI ACWI 1% ต่อปี สร้างผลตอบแทนได้มากว่า 3 เท่าภายในระยะเวลา 10 ปีดังกล่าว

รูปที่ 6 BGF Global Long-Horizon Equity Performance & Capture Ratio | Source : Blackrock As of 30/09/2021

 

พร้อมด้วย Upside Capture และ Downside Capture หรือการปรับตัวขึ้นและลงเทียบกับดัชนีเปรียบเทียบอย่าง MSCI ACWI ที่ดีอยู่เสมอ โดยในยามที่ตลาดปรับตัวขึ้นกองทุนสามารถปรับขึ้นได้ 110.81% ขณะที่ในยามที่ตลาดปรับตัวลงกองทุนก็สามารถที่จะปรับตัวลงคิดเป็น 92.32% ของ MSCI ACWI นับตั้งแต่ในปี 2017 ทำให้นักลงทุนมั่นใจได้ว่าแม้ในยามที่ตลาดเป็นขาลง กองทุนก็มีโอกาสที่จะปรับตัวลงน้อยกว่า เพื่อในยามที่ตลาดเป็นใจกองทุนจะสามารถฟื้นคืนกลับมาเท่าทุน และสร้างกำไรได้ดีกว่าในระยะยาว

 

M-EDGE ลงทุนในบริษัทไหนบ้าง?

 

ส่วนสำคัญที่สุดที่สร้างผลการดำเนินงาน และสะท้อนกระบวนการลงทุนที่กล่าวมาถึงทั้งหมดก็คือการเลือกและถือครองหลักทรัพย์ที่ดีของกองทุน โดยในปัจจุบันนั้น BGF Global Long-Horizon Equity Fund กองทุนหลักของ M-EDGE ถือครองหุ้นที่เป็นที่รูุ้จักกันดีและเข้าเกณฑ์ ปรัชญาการลงทุนข้างต้น อาทิ

รูปที่ 7 BGF Global Long-Horizon Equity top 10 holding | Source : Blackrock As of 30/09/2021

  • Amazon และ Microsoft 2 บริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ชื่อดังระดับโลกที่ทำธุรกิจสอดคล้องกับเมกะเทรนด์ อาทิ การให้บริการ Cloud ของทั้ง 2 บริษัท, ธุรกิจ E-Commerce ของ Amazon ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง และ การปรับธุรกิจเป็น Subscription Base ของ Microsoft ที่ช่วยให้กิจการสามารถเติบโตได้ดีมากขึ้น ช่วยให้ทั้ง 2 บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานรวมกันมากกว่า 142,786 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020 ที่ผ่านมา
  • Prudential บริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่ที่เดินหน้ารุกเข้ามาในเอเชียอย่างต่อเนื่อง จนสามารถครองตลาดในภูมิภาคเอเชียได้เป็นจำนวนมาก อาทิ อินโดนีเซียและ อินเดียซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 1,500 ล้านคน โดย Prudential สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดได้มากถึง 11% และ 18% ตามลำดับ เป็นอันดับ 1 ในอินโดนีเซีย และเป็นอันดับที่ 2 ในอินเดีย ขณะที่ในประเทศจีน ซึ่งมีประชากรมากกว่า 1,400 ล้านคนนั้น Prudential ก็เริ่มทำการตลาด และมีผู้เอาประกันแล้วมากกว่า 1.5 ล้านราย จากตัวแทนประกันชีวิตกว่า 35,000 ชีวิต ด้วยสำนักงานตัวแทนที่กระจายใน 21 แห่ง เข้าถึงประชากรใน 94 เมืองใหญ่ซึ่งคิดเป็นกว่า 80% ของ GDP จีนทั้งหมด ทำให้ Prudential ยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก แม้จะเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีขนาดใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกก็ตาม
  • Reckitt Benckiser Group 1 ในบริษัทที่ 20 มูลค่ากิจการมากที่สุดใน FTSE ตลาดหุ้นอังกฤษที่มีรายได้มากกว่า 12,800 ล้านปอนด์ต่อปี จากการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าสุขภาพ อนามัย และโภชนาการ มากกว่า 20 แบรนด์ อาทิ Dettol, Durex, Strepsils, Brasso, Scholl Vanish และ, Veet ซึ่งมีความผันผวนของรายได้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับธุรกิจที่ผันแปรตามวัฏจักรเศรษฐกิจอื่นๆ ขณะเดียวกันก็ยังมีโอกาสเติบโตที่สูงจากแนวโน้มการดูแลสุขภาพอนามัยที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นปัจจัยกระตุ้นอีกทาง ควบคู่กับแนวโน้มการดูแลตนเองตามปกติ

จะเห็นได้ว่าบริษัทที่ M-EDGE เข้าลงทุนนั้นจะมีลักษณะร่วมกันก็คือ มีขนาดใหญ่ มีกระแสเงินสดที่ดี และมีศักยภาพในการเติบโตที่สูง ทำให้เป็นบริษัทที่มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดีในยามที่เศรษฐกิจขยายตัวจากศักยภาพในการเติบโต ควบคู่ไปกับการมีภูมิคุ้มกันในยามที่ตลาดปรับฐานจากความมั่นคงของบริษัทซึ่งสะท้อนผ่านทางมูลค่าบริษัทที่ใหญ่ และกระแสเงินสดที่ดี

ทำให้ท้ายที่สุดแล้ว หากในอนาคตอันใกล้นี้เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางนโยบายการเงินจากผ่อนคลายเป็นตึงตัว ผู้ลงทุนก็จะมั่นใจได้ว่า หุ้นในพอร์ตการลงทุนของ M-EDGE ที่ทั้งกระจายการลงทุนในหลากหลายอุตสาหกรรม เลือกหุ้นที่คุณภาพสูง พร้อมด้วยมาตรการคุมความเสี่ยงอย่างเข้มงวด ซึ่งทำให้ผลตอบแทนย้อนหลังในช่วงที่ผ่านมาที่สามารถจำกัดความเสียหายในยามที่ตลาดแย่ และ เร่งผลตอบแทนในยามที่ตลาดดี จะเหมาะสมกับการเป็นส่วนหนึ่งของพอร์ตการลงทุนได้ในระยะยาว

รายเอียดเพิ่มเติม :

สนใจซื้อกองทุน:

– ซื้อผ่าน App: MFC WEALTH

– ซื้อผ่านนักวางแผนการลงทุนส่วนบุคคลของ MFC

– ซื้อผ่านตัวแทนการขายกว่า 40 แห่ง ทั่วประเทศ

 

ติดตามข่าวสารของ MFC:

Website: https://www.mfcfund.com

Facebook: https://www.facebook.com/mfcfunds

Instagram: https://www.instagram.com/mfcfunds

Twitter: https://twitter.com/mfcfunds

Youtube: https://www.youtube.com/c/MFCAssetManagementPLC

LinkedIn: https://www.linkedin.com/company/mfcfunds

Line: https://line.me/ti/p/~@mfcfunds

 

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top