InvestmentTalk – เทคนิคการเลือกสินทรัพย์ลงทุนหลัก (Core Asset) ที่เหมาะกับตัวคุณ

แชร์บทความนี้

หลักกการลงทุนที่นิยมใช้กันทั่วไปวิธีหนึ่งคือ หลัก Core/Satellite Approach คือ การจัดพอร์ตการลงทุนโดยรวม ควรจะมีส่วนที่เป็นสินทรัพย์หลัก (Core Asset) เพื่อให้ได้รับผลตอบใกล้เคียงกับตลาดที่เหมาะกับผู้ลงทุน ควบคู่ไปกับส่วนที่เป็น Satellite ในสัดส่วนที่น้อยกว่า ซึ่งหมายถึงการลงทุนแบบ Active Management เพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม

วันนี้ผมจะนำเสนอวิธีการคัดเลือกสินทรัพย์หลัก ซึ่งหมายถึงสินทรัพย์ที่เราควรจะกระจายความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของคุณไปลงทุนระยะยาว ตามทฤษฎีแล้ว สินทรัพย์หลักจะเป็นการลงทุนแบบ Passive เช่นการลงทุนใน Index Fund ที่ผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนีราคาหลัก ๆ ของโลก เช่น 1) S&P 500, Russell 3000 สำหรับตลาดหุ้น 2) Lehman Aggregate, JPmorgan Global Government Bond สำหรับตราสารหนี้ 3) Goldman Sachs Commodity (GSCI) สำหรับตลาดโภคภัณฑ์

ประเด็นสำคัญคือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากลุ่มสินทรัพย์ (Asset Class)ไหนที่เหมาะกับตัวคุณ ซึ่งผมขอเสนอวิธีวิเคราะห์อย่างง่าย ๆ ดังนี้ครับ

  1. กำหนดระยะเวลาการลงทุน (Holding Period Return) – ตามทฤษฎีควรจะใช้ระยะเวลาการลงทุน 3 – 5 ปี แต่สำหรับตัวอย่างในวันนี้ผมจะใช้ระยะเวลาการลงทุน 1 ปีในการคำนวณครับ
  2. หาข้อมูลราคาของสินทรัพย์แต่ละประเภทย้อนหลัง – สำหรับตัวอย่าง ผมจะใช้ SET Index, Thai Government Bond Index, Global Equity Index, Global Bond Index เป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปีนับแต่ปี 2001 (สำหรับดัชนีราคาหุ้นแนะนำให้ใช้ Total Return Index ที่รวมเงินปันผล แต่กรณีผมใช้ SET Index ครับ)
  3. คำนวณหาผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนสำหรับการถือครอง 1 ปี, ค่าสูงสุด, ค่าต่ำสุด, Standard Deviation และ Sharpe Ratio (SHARPE = [Return – Risk Free Rate] / SD )
  4. คำนวณหาผลตอบแทนแต่ละปีปฏิทินเพื่อประกอบการพิจารณา
  5. นำข้อมูลผลลัพธ์ที่ได้ไปวิเคราะห์เลือกสินทรัพย์หลักที่เหมาะกับคุณ ในระดับความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้

ตารางที่1. ผลการคำนวณ 1-year holding period return/ SD / Sharpe Ratio (ข้อมูลย้อนหลัง 2001 – ก.ค. 2010)

จากตารางที่ 1. พบว่า

–          ผลตอบแทนเฉลี่ย: สำหรับการลงทุนต่อปีที่สูงสุดคือ SET ที่ 15.59% ต่ำสุดคือการลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินคือ 2.51%

–          กรณีที่แย่ที่สุด: สำหรับการลงทุน 1 ปีคือการลงทุนใน SET ที่ – 57.63% และสินทรัพย์ที่ขาดทุนน้อยที่สุดคือการลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินที่ +0.69% จะเห็นว่ากองทุนรวมตลาดเงินแม้กรณีแย่ที่สุดก็ยังเป็นบวก

–          กรณีที่ดีที่สุด: ของการลงทุน 1 ปี คือการลงทุนใน SET ที่ได้ผลตอบแทน 121.41% และสินทรัพย์ที่ได้กำไรน้อยที่สุดคือการลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินที่ +4.34%

–          Sharpe Ratio: ซึ่งสะท้อนถึงผลตอบแทนโดยปรับด้วยความผันผวนของราคา จากดีที่สุด ไปหาดีน้อยที่สุด คือ World Bond > Thai Bond > SET > World Equity > MM Fund

ตารางที่2. ผลการคำนวณผลตอบแทนแต่ละปีปฏิทิน (ข้อมูลย้อนหลัง 2001 – ก.ค. 2010)

การวิเคราะห์จากตารางที่ 1. เราควรมองที่ความสามารถในการรับความเสี่ยงของตัวเองว่าสามารถรับกรณีที่แย่ที่สุดได้ขนาดไหน และผลตอบแทนเฉลี่ยที่เราคาดหวังจะได้รับเป็นอย่างไร เห็นได้ชัดว่าผลตอบแทนที่ดีย่อมมากับความเสี่ยงครับ จากนั้นทำการวิเคราะห์ตารางที่ 2 จะทำให้คุณสามารถให้ภาพชัดขึ้นว่าผลตอบแทนของแต่ละชนิดสินทรัพย์ในแต่ละปีซึ่งในที่นี้ผมทำ 5 ปีย้อนหลังมาให้ดูกัน เพื่อให้เห็นภาพจริงว่าผลตอบแทนแต่ละปีที่จะได้รับเป็นอย่างไร ที่สำคัญคือผลตอบแทนย้อนหลังก็ไม่ได้รับประกันผลตอบแทนในอนาคตนะครับ บทความสั้นฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้แนวทางวิเคราะห์วิธีหนึ่ง สำหรับนักลงทุนในการจัดสรรการลงทุนให้เหมาะกับตัวท่าน เพื่อเป้าหมายในการไปสู่อิสรภาพทางการเงินของแต่ละท่านครับ

ติดตามบทความดีๆเรื่องเศรษฐกิจ, การลงทุน และเวบบอร์ดเพื่อนักลงทุนไทย ได้ที http://fundmanagertalk.com

Facebook Page: http://facebook.com/FundManagerTalk | Twitter : http://twitter.com/FundTalk สำหรับวันนี้ สวัสดีครับ…

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top