“3 เสาหลักของการลงทุนตราสารหนี้ ดี…กว่าที่เคย”

แชร์บทความนี้

“3 เสาหลักของการลงทุนตราสารหนี้ ดี…กว่าที่เคย”

ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร การลงทุนในตราสารหนี้เป็นการลงทุนที่สามารถลงได้ทุกภาวะเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้น ทรงตัว หรือขาลง ซึ่งตราสารหนี้เป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์หลักในการจัดพอร์ตลงทุน หรือ Asset Allocation อีกด้วยครับ

การลงทุนครั้งแรกในชีวิตของคนส่วนใหญ่คือการลงทุนในเงินฝาก ซึ่งเป็นการลงทุนในตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง

สำหรับคนที่จัดพอร์ตลงทุน ในภาวะที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต ควรมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้อยู่ในระดับต่ำ และควรมีการลงทุนในตราสารหนี้ระดับสูงเมื่ออยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย

“3 เสาหลักของการวิเคราะห์การลงทุนในตราสารหนี้”

จะเห็นว่าตราสารหนี้เป็นหนึ่งในสินทรัพย์พื้นฐานของนักลงทุนเลยก็ว่าได้ และยังเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญสำหรับใช้ในการจัดพอร์ตการลงทุนอีกด้วย วันนี้ผมจะมาเล่าถึง 3 เสาหลักของการวิเคราะห์การลงทุนในตราสารหนี้ในมุมมองของอดีตผู้จัดการกองทุน ให้อ่านกันครับ

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดขึ้นผมจะใช้ 2 กองทุนจาก TMB Asset Management ในการยกตัวอย่าง คือกองทุนเปิดทหารไทย ธนไพศาล (TMBBF) และกองทุนเปิดทหารไทย ธนไพบูลย์ (TMBABF)

“เสาที่ 1 : ผู้ออกตราสาร (Issuer Selection)”

การลงทุนในตราสารหนี้ก็เหมือนการที่เราเอาเงินไปให้คนอื่นยืมแล้วคิดดอกเบี้ย สิ่งที่สำคัญที่สุดของการลงทุนในตราสารหนี้ก็คือผู้ออกตราสารว่าจะมีเงินคืนเราหรือไม่ จึงต้องวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอย่างระมัดระวัง

สิ่งที่ใช้วิเคราะห์ผู้ออกตราสารคืองบการเงินของบริษัทผู้ออกนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เราคุ้นหูขนาดไหนก็ต้องหางบการเงินมาวิเคราะห์ให้ได้นะครับ บริษัทที่เราได้ยินชื่อกันบ่อย ๆ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นบริษัทที่แข็งแรง… จำไว้ให้ขึ้นใจ

ปี 2017 เป็นอีกหนึ่งปีที่ผู้ออกตราสารหนี้ผิดนัดชำระหนี้กันหลายราย ทำให้นักลงทุนเจ็บตัวกันไปหลายคน หรือที่เรียกกันว่าเกิดการ “Default หรือการผิดนัดชำระหนี้” ซึ่งเป็นภาวะที่ลงทุนในตราสารหนี้แล้วผู้ออกตราสารไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนให้กับนักลงทุนได้ตามที่สัญญาไว้

การวิเคราะห์ผู้ออกตราสารมีจึงต้องดูจากงบการเงินของผู้ออก (งบยิ่งใหม่ยิ่งดี) เพื่อหาความสามารถในการชำระหนี้คืน และต้องมีการทำการวิเคราะห์แบบ Relative Valuation หรือการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นที่ทำธุรกิจใกล้เคียงกัน ทั้งในเรื่องของผลตอบแทนว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันหรือไม่ รวมถึงในด้านของสภาพคล่องและกระแสเงินสด

บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือหรือ Credit Rating Agency เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยนักลงทุนในการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร ซึ่งนักลงทุนควรดูอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารที่จะลงทุนประกอบการพิจารณาครับ

 

 

ด้านบนคืออันดับความน่าเชื่อถือของตราสารที่ทั้ง TMBABF และ TMBBF ลงทุนอยู่จะเห็นได้ว่า TMBABF มีการลงทุนในตราสารที่อันดับความน่าเชื่อถือสูงกว่า TMBBF เล็กน้อย ซึ่งโดยปรกติแล้วควรได้รับผลตอบแทนที่น้อยกว่า แต่ TMBABF กลับให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เนื่องจากความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะกำหนดผลตอบแทนของกองทุนต้องมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วยครับ ดูอีก 2 เสาที่เหลือนะครับ

“เสาที่ 2 : อายุของตราสาร (Duration Positioning)”

ในโลกของการลงทุนตราสารหนี้อายุคงเหลือของตราสารแต่ละตัวมีผลอย่างมากกับผลตอบแทนของกองทุน ซึ่งอายุคงเหลือของตราสารหนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ

  • อายุคงเหลือต่ำกว่า 1 ปี : ที่เรามักเรียกกันว่าตราสารหนี้ระยะสั้น ตัวอย่าง เช่น ตั๋วแลกเงินระยะสั้นที่เรียกกันว่า BE ซึ่งหลาย ๆ บลจ.มักจะเลือกนำมาลงทุนอยู่ในกองทุนตลาดเงิน หรือ Money Market Fund ครับ แต่ตราสารที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีนั้นมักให้ผลตอบแทนไม่สูงครับ
  • อายุคงเหลือมากกว่า 1 ปี : ตราสารหนี้ที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 1 ปีนั้นมีหลายประเภทเลยครับ มีทั้งพันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ภาคเอกชน แน่นอนว่าตราสารหนี้ประเภทนี้มีความเสี่ยงมากขึ้นเนื่องจากอายุที่ยาวขึ้น ทำให้ผู้ที่ลงทุนมักได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น แต่ก็มีความเสี่ยงมากกว่าเช่นกันครับ

ปรกติแล้วพอร์ตลงทุนของกองทุนต่าง ๆ ประกอบไปด้วยตราสารหนี้หลายสิบตัว บางกองทุนอาจลงทุนตราสารหนี้เป็นร้อย ๆ ตัวเลยก็ได้ครับ แล้วผู้จัดการกองทุนใช้อายุของตราสารเพื่อลงทุนอย่างไร? เป็นคำถามที่ผมได้รับบ่อย ๆ ครับ

Portfolio Duration คือเครื่องมือที่เหล่าผู้จัดการกองทุนเอาไว้ใช้ดูภาพรวมของพอร์ตลงทุนว่ามีอายุเฉลี่ยประมาณเท่าไรสำหรับนักลงทุนอย่างเรา กองทุนตราสารหนี้ที่มี Duration สูง ๆ จะมี NAV ที่มีความผันผวนได้บ้างแต่ก็มักจะให้ผลตอบแทนสูงกว่ากองทุนที่มี Duration ต่ำ ๆ ส่วน NAV ของกองทุนที่มี Duration ต่ำ ๆ ก็มักจะราบเรียบไม่ค่อยผันผวนเท่าไร่ มาดูทีละกองทุนเลยดีกว่า

 

 

TMBABF : จะเห็นว่ากองทุนนี้สามารถยืด Portfolio Duration ได้สูงถึง 4 ปี แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 1.63 ปี กองทุนที่มี Portfolio Duration สูงๆจะทำให้มีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น สังเกตได้จากราคา NAV ที่ปรับตัวขึ้นลงได้พอสมควร

TMBBF : กองทุนนี้ไม่ได้กำหนด Portfolio Duration ไว้ในหนังสือชี้ชวน แต่ปัจจุบันมี Portfolio Duration 2.09 ปี ซึ่งหมายถึงอายุเฉลี่ยของตราสารในพอร์ตลงทุนคือ 2.09 ปีนั่นเอง นับว่ากลาง ๆ ไม่ได้สูงหรือต่ำจนเกินไป

“เสาที่ 3 : ประเภทของตราสารหนี้ (Asset Category)”

นอกจากอายุของแต่ละตราสารแล้ว ตราสารหนี้ยังมีมากมายหลายประเภท เช่น ตั๋วแลกเงิน (BE) หุ้นกู้ (Bond) เงินฝาก (Bank Deposit) ตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนอ้างอิงตามเงินเฟ้อ (Inflation Linked Bond) และตราสารหนี้ประเภท SWAP เป็นต้น

แน่นอนว่าตราสารหนี้แต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียในการใช้งานต่างกัน ดังนั้นเวลาที่เลือกสินทรัพย์เข้าพอร์ตลงทุนจึงต้องเลือกประเภทของตราสารหนี้ให้เหมาะสมด้วยครับ

ซึ่งถ้าแบ่งประเภทหลักๆ ตราสารหนี้สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มตามผู้ออกคือ ตราสารหนี้ภาครัฐ (Government Bond) และตราสารหนี้ภาคเอกชน (Corporate Bond)

 

 

เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารดีกว่าในอดีตมาก ทำให้การลงทุนข้ามประเทศเป็นไปได้ง่ายและน่าสนใจ สำหรับการลงทุนในตราสารหนี้นี้มีทั้งในและนอกประเทศ ซึ่งในหลาย ๆ ครั้งการลงทุนต่างประเทศไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดนะครับ

ปัจจุบันเงินฝากในบางประเทศให้ผลตอบแทนดีกว่าในประเทศไทยมากและเป็นธนาคารที่ใหญ่กว่าประเทศไทยหลายเท่า ที่สำคัญความเสี่ยงด้านค่าเงินก็สามารถป้องกันความเสี่ยงได้ทั้งหมด ทำให้ผู้จัดการกองทุนทราบถึงผลตอบแทนที่แน่นอนตั้งแต่เข้าลงทุนวันแรกเลย เรามาดูหน้าพอร์ต 10 หลักทรัพย์ที่ลงทุนสูงสุดของ TMBABF และ TMBBF กันครับ

 

 

ทั้งสองกองทุนมีการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ส่วนของการลงทุนในต่างประเทศนั้นก็เลือกกระจายการลงทุนไปในธนาคารขนาดใหญ่และมีความน่าเชื่อถือระดับโลกหลายแห่งครับ เช่น QNB (Qatar National Bank), CCB (China Construction Bank), ABC, Agricultural Bank of China, และ ENBD (Emirates NBD) ซึ่งต่างก็เป็นธนาคารชั้นนำของประเทศนั้น ๆ ตอนที่ผมเป็นผู้จัดการกองทุนก็ไปลงทุนในธนาคารเหล่านี้เช่นกันครับ เนื่องจากผลตอบแทนดีและมีความน่าเชื่อถือ เพียงแต่นักลงทุนหลาย ๆ ท่านอาจไม่ค่อยคุ้นหูนั่นเอง เนื่องจากธนาคารเหล่านี้ไม่ได้มาทำธุรกิจกับนักลงทุนรายย่อยในประไทย

“สรุป… ”

บางครั้งการลงทุนในตราสารหนี้ก็มีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในหุ้นซะอีก เนื่องจากหากมีการผิดนัดชำระหนี้ (Default) ผู้ลงทุนอาจขาดทุนทั้งหมดจากตราสารหนี้ที่ลงทุนได้

จึงเป็นที่มาของการวิเคราะห์ 3 เสาของการลงทุนตราสารนี้ 1.ผู้ออกตราสาร (Issuer Selection) 2.อายุของตราสาร (Duration Positioning) 3.ประเภทของตราสารหนี้ (Asset Category)

ซึ่งในการลงทุนตราสารหนี้ 3 เสาหลักนี้เป็นเหมือนแนวคิดที่สำคัญในการวิเคราะห์ “ดี…กว่าที่เคย” กองทุนตราสารหนี้ TMBAM ทุกกองทุนก็มีการวิเคราะห์ 3 เสาหลักนี้เช่นกัน ซึ่งคุณภาพของตราสารที่ดีและผลตอบแทนที่เหมาะสมทำให้ กองทุนเปิดทหารไทยธนไพศาล ได้รับรางวัลกองทุนตราสารหนี้ยอดเยี่ยม 2017 ประเภทกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น จาก Morningstar Thailand Fund Awards 2017 และกองทุนเปิดทหารไทยธนไพบูลย์ได้รับรางวัลกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2017 ประเภทกองทุนตราสารหนี้ทั่วไป จาก Money & Banking Awards 2017

อย่าลืมนะครับการลงทุนในตราสารหนี้อย่ามองที่ผลตอบแทนอย่างเดียว ให้เอา 3 เสาหลักนี้ไปใช้ในการวิเคราห์การลงทุนด้วย หากสนใจกองทุนดี ๆ จาก TMBAM แนะนำ add LINE TMBAM ได้ที่ http://line.me/ti/p/@dpn9454a พร้อมรับของที่ระลึกเป็นกระเป๋ารับทรัพย์จาก TMBAM

หมายเหตุ:

  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
  • ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

FundTalk รายงาน

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top