อเบอร์ดีน สมอลแค็พ กองทุนหุ้นขนาดกลาง/เล็กสุดคลาสสิคของเมืองไทย

แชร์บทความนี้

ถ้าพูดกันถึงกองทุนหุ้นแนวที่ส่วนตัวผมชอบมากที่สุดคงหนีไม่พ้นหุ้นขนาดกลาง และขนาดเล็ก เหตุผลง่าย ๆ คือราคาหุ้นนั้นวิ่งตามการเติบโตของกำไรต่อหุ้นในระยะยาว และหุ้นขนาดเล็กนั้นมีโอกาสการเติบโตของกำไรมากกว่าหุ้นขนาดใหญ่เพราะฐานกำไรยังเล็กอยู่ การเลือกกองทุนหุ้นชนิดนี้ ความสามารถของทีมผู้จัดการกองทุนในการเลือกหุ้นรายตัวมีผลเป็นอย่างมาก และกองทุนหนึ่งที่ผมยกให้เป็นกองทุนหุ้นขนาดกลาง/เล็ก สุดคลาสสิคของเมืองไทยก็คือ กองทุนเปิด อเบอร์ดีนสมอลแค็พ ABSM – Aberdeen Small Cap Fund ส่วนจะคลาสสิคอย่างไรนั้น ไปชมกันครับ

สไตล์การจัดพอร์ตหุ้นของอเบอร์ดีน

อเบอร์ดีนเริ่มลงทุนในตลาดหุ้นไทยในปี 2528 จนถึงวันนี้ก็กว่า 30 ปีแล้วครับ โดยให้ความสำคัญมาก ๆ กับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ กลยุทธ์การประกอบธุรกิจ ผู้บริหาร และการมุ่งประโยชน์ผู้ถือหุ้น และมีการเข้าพบบริษัทที่ลงทุนเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการลงทุนจะไม่เน้นตามดัชนี แต่เน้นเลือกบริษัทที่คุณภาพยอดเยี่ยม โดยมีการวัดความ Active ของผู้จัดการกองทุน ผ่าน Active Share Ratio ซึ่งกองทุนของกลุ่มอเบอร์ดีนมักจะมีค่า Active Share Ratio อยู่ในเกณฑ์สูงเกิน 80% ซึ่งหมายถึงการที่ผู้จัดการกองทุนเลือกลงทุนโดยไม่ล้อตามดัชนี และมีการตัดสินใจที่เด็ดขาดต่อมุมมองในการที่จะมี หรือไม่มีหุ้นแต่ละตัวในพอร์ต

อีกเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพคือการ Rebalancing อย่างมีวินัย คือมีการขายลดสัดส่วนการลงทุนเมื่อราคาหุ้นปรับสูงขึ้น และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลง ทำให้กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Alpha) ทีละน้อย แต่สม่ำเสมอ จากการ “ซื้อถูก ขายแพง” เมื่อตลาดมีความผันผวน ซึ่งเหมาะกับตลาดบ้านเราเป็นอย่างมาก

ผมติดตาม 10 อันดับแรกของสินทรัพย์ที่กองทุนลงทุนมาตั้งแต่สมัยทำงานเป็นผู้จัดการกองทุน ซึ่งแนวการลงทุนของอเบอร์ดีนจัดเป็นสไตล์ Super Long Term คือมีระยะเวลาการถือครองหุ้นที่ยาวมาก ตราบใดที่ทีมงานยังมองว่าเป็นบริษัทที่ใช่ จากภาพจะเห็นได้ว่า 10 อันดับหุ้นที่กองทุนลงทุนหลายๆ  ตัวมีระยะเวลาการลงทุนนานถึงกว่า 10 ปี แต่มีการ Rebalance สม่ำเสมอ เมื่อราคาหุ้นผันผวน

กองทุน ABSM เน้นลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าตลาด (Market Cap) ไม่เกิน 20,000 ล้านบาท ณ วันที่กองทุนลงทุนครั้งแรก และเมื่อสังเกตดูจาก 10 อันดับแรกจะเห็นได้ว่าหลาย ๆ บริษัทได้เติบโตจากหุ้นขนาดเล็ก ไปเป็นหุ้นขนาดกลาง และขนาดใหญ่เป็นที่เรียบร้อยไปแล้ว

นอกจากความเด็ดขาดในการเลือกหุ้นแล้ว การเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมก็มีความ Active ไม่แพ้กัน จากการเลือกบริษัทในการลงทุนกองทุน ABSM มีสัดส่วนสูงสุดในกลุ่มประกันภัยและประกันชีวิตสูงถึง 17% ของพอร์ต ขณะที่น้ำหนักของหุ้นกลุ่มนี้อยู่ที่เพียง 1% ของดัชนี SET ซึ่งในรอบทศวรรษที่ผ่านมาต้องยอมรับว่ากลุ่มประกันเป็น Mega Trend ตัวหนึ่งของเมืองไทยและมีการเติบโตเป็นอย่างมาก

ขณะที่หุ้นกลุ่มวัฏจักรที่เหวี่ยงขึ้นลงตามเศรษฐกิจ และราคาโภคภัณฑ์ อย่างกลุ่มธนาคาร และกลุ่มพลังงาน กองทุนมีสัดส่วนที่ต่ำกว่า SET Index อย่างชัดเจน ซึ่งสะท้อนความชัดเจนในมุมมองต่อกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าลงทุน และสไตล์ของกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก

สไตล์การลงทุนของบลจ.อเบอร์ดีนชัดเจนมากว่าเน้น Buy and Hold คือซื้อแล้วถือ ตราบใดที่มองว่าบริษัทที่ลงทุนยังคงเป็นบริษัทที่ยอดเยี่ยม โดย Turnover Ratio หรือสัดส่วนที่สะท้อนปริมาณการซื้อขายของกองทุนเมื่อเทียบกับขนาดกองทุนจัดว่าอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับเพื่อนร่วมอุตสาหกรรม ก็แน่ล่ะครับ หุ้นบางตัวถือตั้งแต่จัดตั้งกองทุนจนถึงปัจจุบันทำให้กองทุนประหยัดค่าคอมฯ ได้มากทีเดียว

สำคัญกว่าขึ้นเยอะ ๆ คือลงน้อย ๆ

คนทั่วไปลงทุนหวังผลกำไรเยอะ ๆ แต่แท้จริงแล้ว “การลงน้อย ๆ” ในยามตลาดผันผวนนั้นสำคัญกว่า เพราะเวลาขาดทุนมาก ๆ นั้นกว่าจะเอาคืนได้นั้นใช้เวลานาน และต้องมีอัตราผลตอบแทนสูงมาก ๆ ถึงจะกลับมาเท่าทุนได้

ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต เอกสารการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน

เมื่อดูผลตอบแทนรายปีในรอบหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ชัดว่า ABSM นั้นมักทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดในปีที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสำเร็จของกองทุนในระยะยาว

เมื่อดูผ่าน 3D Diagram จากเว็บ FINNOMENA ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลงานของกองทุน 3 มิติในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จุดเด่นของกองทุนนี้ออกมาชัดเจนคือมี Maximum Drawdown อยู่ในระดับ “ดีที่สุด” แปลความหมายง่าย ๆ คือเวลาตลาดหุ้นปรับลดลงแรง ๆ กองทุนนี้ราคาหน่วยลงทุนปรับลดลงน้อยกว่ากองทุนอื่น ๆ อย่างชัดเจน

ผลการดำเนินงานในอดีต/ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต เอกสารการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน

ความผันผวนของผลการดำเนินงานกองทุนเห็นได้ชัดว่าต่ำกว่าความผันผวนของ SET แม้ว่าจะเป็นการลงทุนในหุ้นขนาดเล็ก ประกอบกับความสามารถในการเลือกหุ้นรายตัวที่ยอดเยี่ยม และการมีวินัยในการ Rebalance พอร์ตการลงทุนส่งผลให้ ABSM มีผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยม และสร้างผลตอบแทนต่อปีหลังหักค่าตอบแทนสูงถึงกว่า 14% ในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา

เมื่อดูอันดับผลตอบแทนของกองทุนผ่าน Morningstar ก็จะพบว่ากองทุน ABSM เป็นกองทุนที่มีผลตอบแทนอันดับต้น ๆ ในรอบ 5 – 10 ปีที่ผ่านมาเช่นกัน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นการรีวิวกองทุนหุ้นขนาดกลาง/เล็กสุดคลาสสิคของเมืองไทย ABSM – Aberdeen Small Cap Fund ที่นำมาฝากกันในวันนี้ โดยกุญแจสำคัญของความสำเร็จของกองทุนอยู่ที่วินัยในการทำงานอย่างหนัก และต่อเนื่องมาหลายสิบปีของทีมจัดการลงทุน รวมถึงสไตล์การลงทุนที่เน้นลงทุนระยะยาว และทำให้กองทุนมีระดับความเสี่ยงที่ต่ำกว่าตลาดอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งผลงานที่ยอดเยี่ยมของกองทุนในรอบทศวรรษที่ผ่านมา

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.aberdeen-asset.co.th/aam.nsf/ThailandThai/fundsprices?OpenDocument&id=678t

FundTalk รายงาน

ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

 

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top