ว่าด้วยความน่าสนใจของเวียดนาม

แชร์บทความนี้

ว่าด้วยความน่าสนใจของเวียดนาม

รูปที่ 1 โรงงานซัมซุงในประเทศเวียดนาม

ขณะที่เม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศแห้งเหือดจากบ้านเราไปนานแล้ว เพราะค่าแรงที่แพงขึ้น

เงินลงทุนจากต่างประเทศกลับไหลบ่าเข้าลงทุนในเวียดนามอย่างต่อเนื่อง หลัก ๆ เพราะค่าแรงที่ถูกกว่า และโครงสร้างพื้นฐานที่มีพร้อมมากขึ้นในปัจจุบัน

ค่าแรงของประเทศเวียดนามวันนี้ตก 165 บาทต่อวัน ขณะที่ไทยคือ 300 จัดว่าถูกกว่ากันครึ่งต่อครึ่ง ส่วนจีนที่เคยว่าถูก ทุกวันนี้ 350 บาทขึ้นแรงแซงแม้แต่ประเทศไทยไปแล้ว

ที่มาแรงมาก ๆ คือเม็ดเงินลงทุนจากญี่ปุ่น และเกาหลี ที่เข้าลงทุนแล้วนับแสน ๆ ล้านบาทในเวียดนาม และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปีในระยะหลัง

รูปที่ 2 GDP ต่อหัวของเวียดนามเปรียบเทียบกับไทย

หากนำเอารายได้ต่อหัวของประเทศเวียดนามมาเปรียบเทียบกับไทย รายได้ชาวเวียดนามวันนี้เทียบได้กับรายได้บ้านเราเมื่อ 14 ปีที่แล้ว

ตรงนี้ล่ะครับที่เค้าเรียกว่า “Room to Grow” หมายความว่ายังมีโอกาสเติบโตอีกมากสำหรับเศรษฐกิจเวียดนาม

และการที่ค่าแรงถูก ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานพร้อมนี่เองที่ทำให้เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศ เช่น Samsung, LG, Nike ต่างแห่ไปลงทุนในเวียดนามช่วงเวลาที่ผ่านมา

รูปที่ 3 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเวียดนาม | ที่มา: Bloomberg

อีกประเด็นที่สำคัญคือเรื่องโครงสร้างประชากร….

คนเวียดนามทั้งประเทศตอนนี้อายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี ขณะที่บ้านเราเกือบ 40 ปีแล้ว

นั่นหมายความว่าจะมีคนเวียดนามเข้าสู่วัยทำงานอีกมาก อันนี้เป็น story เดียวกับอินเดีย การมีคนเข้าสู่วัยทำงานเยอะ แน่นอนจะทำให้เศรษฐกิจเติบโต

ข้อมูลจาก Bloomberg รายงานว่า เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 6.5 – 6.7% สูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน และสูงกว่าการเติบโตของประเทศจีนไปแล้ว

เนื่องจากหุ้นตลาดเวียดนามจัดว่าเป็น “ตลาดชายขอบ” หรือ “Frontier Market” นั่นคือเศรษฐกิจจะมีความผันผวนสูง

ในอดีตค่าเงินของเวียดนามจัดว่ามีความผันผวนสูง เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อที่มีระดับสูง

แต่ในหลายปีให้หลังค่าเงินด่องของเวียดนามแม้จะยังมีทิศทางอ่อนค่า (ซึ่งดีกับการส่งออก) แต่ก็มีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงมากในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนถึงการมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น

ผู้เขียนมองว่าในอนาคต 5 – 10 น่าจะมีโอกาสที่ดีที่เวียดนามจะได้รับการยกระดับจาก ตลาดชายขอบ (Frontier Market) ไปเป็น ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market)

 

กองทุนเปิด ซีไอเอ็มบีพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ (CIMB-Principal VNEQ)

ไปดูที่กองทุนที่นำมาแนะนำในวันนี้กันบ้าง

กองทุนนี้เป็นของค่าย ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จุดที่ผมชอบที่สุดของกองทุนนี้คือ มีผู้จัดการกองทุน On-the-ground คือจ้างนักวิเคราะห์ชาวเวียดนามมาร่วมด้วยช่วยกันบริหารกองทุนโดยตรง

เอกสารประกอบการตัดสินใจลงทุนจำนวนมากของตลาดหุ้นเวียดนามยังคงใช้ภาษาเวียดนามเป็นหลัก การมีคนท้องถิ่นมาร่วมบริหารน่าจะมีประโยชน์มาก ๆ

ไหนจะเป็นการพบปะเยี่ยมชมกิจการ เวลาคนบ้านเดียวกันคุยกันยังไงก็ได้ข้อมูลลึกซึ้งกว่าจริงมั้ยล่ะครับ

นอกจากนี้กองทุนของค่ายนี้ยังทำงานกันในระดับภูมิภาค โดยมีผู้จัดการกองทุนกระจายในทุกประเทศ และร่วมกันลงงาน Company Visit กันอย่างจริงจัง

กองทุนนี้จึงเป็นกองทุนหุ้นเวียดนามที่ลงทุนโดยตรงในหุ้นเวียดนาม เนื้อ ๆ เน้น ๆ แห่งแรกและแห่งเดียวของเมืองไทย

รูปที่ 4 Vietjet Air

แล้วที่ว่าลงทุนเองโดยตรง แห่งแรก และแห่งเดียวนั้นลงทุนในหุ้นอะไร ?

ผมได้ไปดูหนังสือชี้ชวนฉบับล่าสุดมา หนึ่งในหุ้นที่กองทุนนี้เลือกลงทุนคือ Vietjet Air

Vietjet Air เป็นสายการบินต้นทุนต่ำของเวียดนาม เพิ่งตั้งมาได้เกือบ 10 ปี แต่โตเร็วมาก หลาย ๆ ปีย้อนหลังมีจำนวนผู้โดยสารเติบโตมากกว่า 50% ต่อปี

จนส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นมาเทียบเท่ากับสายการบินแห่งชาติคือ Vietnam Airline

ดูแล้วเรื่องราวคล้าย ๆ กับแอร์เอเชียและการบินไทยบ้านเราเหมือนกัน

ถ้าคนเวียดนามเริ่มมีรายได้กันมากขึ้น อีกหน่อยคงบินกันกระฉุดแน่นอน คล้าย ๆ กับที่เกิดขึ้นกับบ้านเราในไม่กี่ปีมานี้

รูปที่ 5 ตัวอย่างโครงการของ Ho Chi Minh City Infrastructure Investment

อีกหนึ่งตัวอย่างบริษัทที่กองทุนนี้ลงทุน คือ Ho Chi Minh City Infrastructure Investment ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนาโครงการลงทุนภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

แน่นอนว่าเศรษฐกิจที่กำลังเฟื่องฟู การลงทุนจากต่างชาติที่กำลังบูม ย่อมมาพร้อมกับโครงการลงทุนภาคเอกชนจำนวนมาก

โดยการลงทุนในบริษัทนี้น่าจะเป็นตัวแทนของการเติบโตการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเวียดนามได้เป็นอย่างดี

กองทุน CIMB-Principal VNEQ นี้ผมแนะนำให้จัดไว้ในส่วนลงทุนระยะยาว ถือลืมไปได้เลย บนเป้าหมายง่าย ๆ คือ 10 ปี 4 เด้ง หรือผลตอบแทน 15% ต่อปี ซึ่งหาได้ยากมากในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน

แนะนำแบ่งเงินลงทุน 10 – 20% ของพอร์ตมาลงได้ สำคัญคือต้องถือยาว กองทุนนี้ขั้นต่ำของการลงทุนจะสูงหน่อย คือ 5 แสนบาท

กองทุนนี้ถ้าจะซื้อทำได้เพียงปีละ 4 ครั้งคือทุกวันทำการสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ขณะที่ขายคืนได้ปีละ 2 ครั้ง คือทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน มีนาคม และกันยายน

ที่ซื้อขายได้ไม่บ่อย เพราะกองทุนนี้เหมาะจะถือยาว และตลาดหุ้นเวียดนามเองสภาพคล่องไม่ได้สูงมาก

สิ่งที่ต้องทนให้ได้คือความผันผวนของราคากองทุนนี้ที่แน่นอนเมื่อเป็นตลาดชายขอบ ย่อมจะมีความผันผวนสูงกว่าปกติ

ผู้ที่ทนรับความผันผวนระยะสั้นแต่ละปีได้น่าจะได้รับรางวัลคือผลตอบแทนระยะยาวที่ยอดเยี่ยมเป็นการตอบแทน

รูปที่ 6 บรรยากาศการ Company Visit ของทีมงาน ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล

แถมท้ายด้วยรูปที่ทาง CIMB-Principal ส่งมาให้ดู คือบรรยากาศการทำ Company Visit ของผู้จัดการกองทุน ที่ถกแขนเสื้อ ออกเหงื่อ มือเปื้อนดิน ลงดูตลาดจริงในประเทศเวียดนามอย่างต่อเนื่อง เห็นแล้วอยากไปด้วยจัง

สนใจลงทุนในกองทุนนี้ติดต่อได้เลยครับ ที่ โทร 02-686-9595

หรือศึกษาเพิ่มเติมที่ www.cimb-principal.co.th (บ้านเก่าผมเอง)

FundTalk รายงาน

 

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top