KT-ASEAN-A – สร้างพอร์ตให้เติบโตแข็งแรงด้วยกองทุนหุ้นอาเซียน

แชร์บทความนี้

ใครที่มองหาการลงทุนในกองทุนในหุ้นต่างประเทศที่เติบโตเร็ว มักจะสนใจหุ้นในประเทศตลาดเกิดใหม่ โดยนิยมลงทุนในประเทศยอดฮิตอย่างประเทศจีน และ อินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเติบโตยอดเยี่ยม อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มประเทศหนึ่งที่เรามักจะมองข้ามนั่นคือ ภูมิภาคอาเซียนของเรานั่นเอง โดยกองทุนที่ลงทุนในภูมิภาคอาเซียนก็มีให้เลือกหลากหลาย หนึ่งในนั้นคือกองทุน KT-ASEAN ที่ผมจะมาแนะนำในวันนี้นั่นเองครับ

กองทุน KT-ASEAN หรือในชื่อภาษาไทยว่า กองทุนเปิด เคแทม อาเซียน อิควิตี้ ฟันด์ (KTAM ASEAN EQUITY Fund) เป็นกองทุนที่ลงทุนในตราสารทุนของประเทศที่เป็นสมาชิกในกลุ่มอาเซียน เช่น ประเทศไทย อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนามเป็นต้น

ทำไมต้องลงทุนในหุ้นอาเซียน

  1. GDP Growth อยู่ในระดับสูง

กลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นประเทศกลุ่ม Emerging market ยังคงมี GDP Growth เฉลี่ยอยู่ในระดับ 3-6% ต่อปี เมื่อเทียบกับกลุ่ม Developed Market ที่เติบโตได้เพียง 2-3% ดังนั้นจึงเป็นสัญญาณที่ดีว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนจะยังสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องได้

ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 61

  1. ราคาที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับในอดีต

การพิจารณาความถูกแพงหุ้น อีกวิธีหนึ่งที่ดีคือพิจารณาว่าในอดีตเคยเทรดกันที่เท่าใด เมื่อพิจารณาช่วงการเทรดตาม Price to Book Value ของหุ้นกลุ่มประเทศอาเซียนในอดีต 10 ปีย้อนหลังจะพบว่าในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1.82 เท่า ซึ่งถือว่าถูกกว่าค่าเฉลี่ยในระยะยาวที่ 1.90 เท่า

ข้อมูล ณ วันที่ 30 เม.ย. 61

  1. มีปัจจัยบวกจากหลายๆประเทศในรอบหลายปี

ไทย

  • การลงทุนภาครัฐในปี 2017 อยู่ที่ 3.2 แสนล้านบาท มากกว่า 6 ปีก่อนหน้ารวมกัน
  • การท่องเที่ยวไทยเติบโตต่อเนื่อง โดยจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2017 ทำจุดสูงสุดในประวัติการณ์และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกในปี 2018 โดยเติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันประมาณ 15% ตั้งแต่ต้นปี

ที่มา: CSLA ณ วันที่ 25 กันยายน 2017

อินโดนีเชีย

  • รัฐบาลโจโควี มีนโยบายเน้นลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศ โดยมีการลงทุนด้านการคมนาคม เช่น รถไฟฟ้าและทางด่วนยกระดับ เป็นต้น
  • ค่าจ้างรายวันเติบโตต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อการบริโภคภายในประเทศ

ที่มา: Indonesia government budget และ DB, company reports ณ วันที่  31 ธันวาคม 2017

สิงคโปร์

ราคาอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังจากที่รัฐบาลผ่อนผันมาตรการควบคุมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยผู้ซื้อในสิงคโปร์มีแรงจูงใจในการซื้อมากขึ้น เนื่องจากเชื่อว่าราคาที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว

ที่มา: BofA Merrill Lynch Global Research ณ ตุลาคม 2017

ฟิลิปปินส์

รัฐบาลได้ผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีเมื่อปลายปีที่แล้วโดยเชื่อมั่นว่าจะช่วยให้เกิดระบบภาษีที่ง่ายต่อการทำความเข้าใจ รวมถึงมีอัตราที่ต่ำลงกว่าเดิม เพื่อเป็นแรงดึงดูดให้เกิดการลงทุนมากขึ้น มีการปฏิรูปภาษี 4 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ที่รวมถึงภาษีน้ำมันและรถยนต์ และภาษีอสังหาริมทรัพย์

ที่มา: JP Morgan Securities ณ วันที่ 20 กันยายน 2017

เวียดนาม

อัตราการเติบโตและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจทำให้ตลาดหุ้นน่าสนใจจากต่างชาติ เนื่องจากการเติบโตและปัจจัยพื้นฐานภายในประเทศที่แข็งแกร่ง โดยจาก Bloomberg Consensus ดัชนี VNIndex (The Vietnam Stock Index) ซึ่งประกอบด้วยหุ้นบริษัทจดทะเบียนในเวียดนาม จะมีการเติบโตของกำไรเฉลี่ย 3 ปีราวๆ 18.1% เลยทีเดียว

ที่มา: Bloomberg ณ วันที่ 27 เมษายน 2018

ลงทุนผ่าน JPMorgan กองทุนระดับโลก

กองทุน KT-ASEAN-A จัดอยู่ในประเภท Feeder Fund ลงทุนในกองทุนหลักของ JPMorgan ซึ่งเป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ผ่านกองทุน JPMorgan ASEAN Equity (USD) เพียงกองเดียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน

โดยกองทุนหลักมีทีมลงทุน 5 ท่าน ทั้งผู้จัดการกองทุนและนักวิเคราะห์ประจำภูมิภาคอาเซียนนั้นมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมการเงินเฉลี่ยถึง 17 ปี โดยสไตล์การลงทุนของกองทุนนี้จะเลือกหุ้นโดยผสมผสานทั้งวิธี Bottom Up และ Top Down และมีการลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งนี้ในระยะกลาง ก็มีการพิจารณาลงทุนหุ้นตามวัฏจักรเพื่อผลตอบแทนสูงสุดต่อผู้ถือหน่วยลงทุนอีกด้วย

 

สัดส่วนการลงทุนกองทุนรวมหลัก

ที่มา: JPMorgan ณ วันที่ 31 มีนาคม 2018

การลงทุนในระดับประเทศจะมีการลงทุนแตกต่างจากดัชนี ตามมุมมองของผู้บริหารกองทุน เพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มแก่นักลงทุน โดยในปัจจุบัน กองทุนมีการ Overweight ในหุ้นสิงคโปร์เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาต่อเนื่องหลายๆปีเริ่มกลับมาฟื้นตัว และหุ้นไทย จาก 3 ปัจจัยที่เติบโตโดดเด่น คือ การบริโภคภายในประเทศ การท่องเที่ยว และการลงทุนภาครัฐ

ที่มา: JPMorgan ณ วันที่ 31 มีนาคม 2018

เมื่อพิจารณาในระดับอุตสาหกรรม จะพบว่ากองทุนนี้มีน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Financials และ Consumer Discretionary เนื่องจากสภาวะที่เศรษฐกิจประเทศอาเซียนกำลังฟื้นตัวพร้อมกันในด้านการส่งออก การบริโภค และการใช้จ่ายของรัฐบาลฯ ย่อมเป็นผลดีต่อกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่างทั้งทางตรงและทางอ้อม

 

หุ้น 5 อันดับแรกในกองทุน

อย่างที่ทราบกันดีว่ากองทุนเน้นการลงทุนหุ้นในกลุ่ม Financial และ Consumer Discretionary โดยหุ้นที่ถือ 5 อันดับแรก จัดอยู่ในประเภท Financial ถึง 4 บริษัททีเดียว

  • DBS Group Holding Ltd ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศสิงคโปร์ เป็นผู้ให้บริการด้านธนาคารและธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ในหลายๆประเทศ อาทิเช่นประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง จีน และประเทศกลุ่มเอเชียใต้
  • Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ธนาคารที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ เป็นผู้ให้บริการทางการเงินทั้งส่วนรายย่อยและองค์กรในกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเชีย เป็นต้น
  • United Overseas Bank Limited หรือที่เรารู้จักกันในนาม ธนาคาร UOB ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทางด้านการเงินหลากหลาย มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ โดยดำเนินธุรกิจหลักอยู่ในกลุ่มประเทศเอเชีย แปซิฟิก และโซนยุโรปบางส่วน
  • PT Bank Central Asia Tbk หรือ BCA มีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเชีย ให้บริการด้านธนาคารและบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ดูแลผลประโยชน์ บริหารกองทุน สินเชื่อเช่าซื้อ เป็นต้น
  • CP ALL PCL หรือเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือที่เรารู้จักกันในนามร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะดำเนินธุรกิจร้านสะดวกซื้อในประเทศไทยแล้ว ยังมีธุรกิจห้างสรรพสินค้าในเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนอีกด้วย

ที่มา: JPM, Bloomberg ข้อมูล ณ วันที่  28 กุมภาพันธ์ 2018

 

ผลการดำเนินงานย้อนหลัง

เมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานย้อนหลังรายปีจะพบว่า กองทุน JPMorgan ASEAN Equity สามารถเอาชนะดัชนีชี้วัดหรือ MSCI AC ASEAN Index (Total Return) ได้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกปี แม้ว่าผลตอบแทนในอดีตไม่สามารถสื่อถึงผลการดำเนินงานในอนาคตได้ แต่ก็สามารถบ่งชี้ถึงฝีมือของทีมบริหารกองทุนได้อย่างดี ทำให้เรามั่นใจในการลงทุนมากขึ้นนั่นเอง

 

ที่มา:JPMorgan ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2018
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลงานในอนาคต

เมื่อดูผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนในเดือนเมษายน 2552 กองทุนสามารถทำผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 11% ขณะที่ดัชนีชี้วัดอยู่ที่ 8.4% แปลว่ากองทุนสามารถชนะดัชนีชี้วัดเฉลี่ย 2.6% ทุกปี ซึ่งมีนัยสำคัญต่อเงินลงทุนมากในระยะยาว

ที่มา:JPMorgan ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2018
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลงานในอนาคต

 

นอกจากผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมแล้ว ในมิติอื่นก็โดดเด่นด้วย

ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลงานในอนาคต

หลังจากเปรียบเทียบกองทุนเชิงคุณภาพแล้ว ลองเปรียบเทียบเชิงปริมาณโดยใช้ FINNOMENA 3D DIAGRAM เพื่อวิเคราะห์กองทุนนี้ใน 3 ด้าน จะพบว่านอกจากผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมแล้ว ค่า Maximum drawdown ถือว่าต่ำมาก ทำให้เมื่อคำนวณ Risk Adjusted Return นั้นนับว่าคุ้มค่าอย่างยิ่ง

ความเสี่ยง

  • ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอกภูมิภาคอาเซียน เช่น สงครามการค้า ตัวเลขเงินเฟ้อ ความตึงเครียดทางการเมือง ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน
  • การเลือกตั้งในประเทศมาเลเซียในปี 2018 ประเทศอินโดนีเชีย และไทยปี 2019
  • ความเสี่ยงด้านความผันผวนของค่าเงินบางส่วนในกลุ่มประเทศอาเซียน

สรุปกองทุน KT-ASEAN-A

กองทุน KT-ASEAN-A ลงทุนในหุ้นกลุ่มประเทศอาเซียนที่มีศักยภาพการเติบโตที่ค่อนข้างสูงผ่านบริษัทจัดการกองทุนระดับโลกอย่าง JPMorgan สไตล์การลงทุนคือเน้นการลงทุนทั้ง Bottom up และ Top down แบ่งการลงทุนเป็นสองส่วนคือลงทุนทั้งในระยะยาวและระยะกลางเพื่อผลตอบแทนสูงสุด พิสูจน์โดยผลการดำเนินงานย้อนหลังที่เอาชนะ benchmark ได้ทุกปี ใครที่สนใจลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเรา ผมแนะนำให้พิจารณากองทุนนี้เป็นกองแรกเลยครับ !!

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร 0 2686 6100 หรือ www.ktam.co.th

 

ความเสี่ยงของกองทุนที่สำคัญ คือ ความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุน, ความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน, ความเสี่ยงจากการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการชั่วคราว เป็นต้น

มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน

การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

 

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top