ลงทุนสไตล์ ESG สร้างผลตอบแทนการลงทุนแบบยั่งยืน

แชร์บทความนี้

ลงทุนสไตล์ ESG สร้างผลตอบแทนการลงทุนแบบยั่งยืน

ใคร ๆ ก็อยากรวย แต่ก็คงไม่มีใครอยากรวยเร็วอย่างฉาบฉวย หากให้เลือกได้ก็อยากรวยอย่างยั่งยืนใช่ไหมครับ วันนี้เราจะมาคุยถึงกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นที่กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ในแถบเอเชียและประเทศไทย ซึ่งกลยุทธ์นี้ไม่เพียงแต่เลือกลงทุนในบริษัทพื้นฐานดีและมีแนวโน้มที่เติบโตเท่านั้น แต่บริษัทนั้นยังต้องดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล หรือ  ESG เพื่อให้ผู้ลงทุนมั่นใจได้ว่าเงินลงทุนของคุณจะสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาวนั่นเอง

ESG คือพื้นฐานของการทำธุรกิจ

แนวทางการคัดเลือกบริษัทที่มีพื้นฐานการทำธุรกิจที่ยั่งยืน (ESG) สามารถใช้หลักง่ายๆ ที่เรียกว่า E + S + G ในการคัดเลือก ซึ่งทั้ง 3 แนวคิดนี้จะช่วยส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนมีความยั่งยืนของผลประกอบการและนำมาซึ่งกำไรที่ดีได้ในระยะยาว หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าไม่เห็นจะเกี่ยวกับการลงทุนเลย…

ลองคิดดูนะครับ ถ้าเราลงทุนในบริษัทที่ทำเหมืองแร่ มีการเปิดหน้าดินเพื่อขุดเหมือง ต้องตัดต้นไม้ไปจำนวนมาก หลังจากทำเหมืองเสร็จไม่ยอมปลูกป่ากลับคืน สุดท้ายก็โดนประท้วงหรือฟ้องร้องทำให้บริษัทต้องตั้งสำรองสำหรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นมา เสียทั้งเงินทั้งชื่อเสียง แน่นอนว่ากำไรลดลง นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในบริษัท หุ้นราคาตกลง! เริ่มเกี่ยวแล้วใช่มั้ยครับ – ตัวอย่างนี้บอกถึงการขาด E หรือ Environmental หมายถึงเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น จัดให้มีแนวทางในการรักษาสิ่งแวดล้อมก่อนและหลังการทำงานอย่างชัดเจน หรือการหาวิธีที่ใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

ความรับผิดชอบต่อสังคมก็เป็นสิ่งที่สำคัญ หลายบริษัทมีการสนับสนุนให้ชาวบ้านที่อยู่รอบ ๆ โรงงานปลูกผลผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงาน หรือแม้แต่ให้ชาวบ้านเข้ามาทำงานที่โรงงาน นับเป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมมาก บริษัทเองก็ประหยัดต้นทุนการขนส่ง ไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน ชาวบ้านก็มีรายได้ สร้างงานสร้างอาชีพให้กับคนรอบ ๆ โรงงาน – ตัวอย่างนี้คือการทำ S หรือ Social ซึ่งหมายถึงการคำนึงถึงสังคมไปพร้อม ๆ กับการทำธุรกิจนั่นเองครับ

การทุจริตส่วนมากเกิดจากคนในบริษัทเอง บริษัทที่ดีควรมีแนวทางการป้องกันการทุจริตของพนักงาน เช่น สถาบันการเงินมักมีกฎที่เรียกว่า Staff Dealing Rule ที่พนักงานจะต้องแจ้งกับฝ่ายกำกับก่อนทำการซื้อขายหุ้นทุกครั้ง เพื่อป้องกันการซื้อขายหุ้นดักหน้า (front run) ลูกค้าที่กำลังจะซื้อหรือขายหุ้น – กฎเรื่องนี้บอกถึงการทำ G หรือ Governance หมายถึงการสร้างกฎระเบียบทั้งทางตรงและทางอ้อมขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้พนักงานปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต การที่องค์กรมีหลักธรรมาภิบาลที่ชัดเจนในการต่อต้านคอรัปชั่นสุดท้ายแล้วก็ทำให้องค์กรไม่ต้องสูญเสียรายได้ ค่าปรับ หรือค่าใช้จ่ายคดีความต่าง ๆ ที่เป็นเงินไม่น้อย และสร้างประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นในที่สุดนั่นเอง

 

นี่แหละครับคือที่มาของคำว่า “คุณธรรมชี้นำกำไร” หลักของ ESG เป็นแนวทางในการทำธุรกิจที่ยั่งยืนที่บริษัทต่าง ๆ ควรใช้ และนักลงทุนก็ควรใช้ประกอบการตัดสินใจก่อนลงทุน เพราะบริษัทที่ทำธุรกิจอย่างมีคุณธรรมตามหลัก ESG ย่อมสามารถเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีสม่ำเสมอในระยะยาวได้

กลับมาเรื่องการลงทุนกันบ้าง จริง ๆ แล้วในเมืองไทยก็มีกองทุนที่ใช้หลัก ESG เหมือนกันนะครับ คือ กองทุนเปิด ทิสโก้ ESG เพื่อสังคม จากบลจ.ทิสโก้ ซึ่งเป็นกองทุนรวมกองแรก ๆ ที่ใช้หลัก ESG เป็นแนวคิดหลักในการคัดเลือกหุ้น จึงทำให้มีโอกาสน้อยที่จะเกิดเหตุไม่คาดฝันในเชิงปัญหาธรรมาภิบาล ปัญหาการไม่ดูแลสิ่งแวดล้อม หรือการไม่ใส่ใจสังคม ทำให้มั่นใจได้ว่าเงินลงทุนของเราน่าจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ดังนั้นด้วยแนวคิดที่เล่ามา จึงได้มีการเปิดเสนอขาย ‘TISESG – D’(จ่ายเงินปันผล)  ซึ่งต้นกำเนิดของกองทุนนี้เกิดจากการรวมตัวกันของนักลงทุนรายใหญ่ 6 ราย ที่เห็นความสำคัญและโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนจากการใช้หลัก ESG ในการคัดเลือกบริษัทที่จะลงทุน อย่างไรก็ตามเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปสามารถลงทุนในกองทุนที่ใช้หลัก ESG นี้ได้ ทาง บลจ.ทิสโก้ จึงได้จัดตั้งกองทุน TISESG-A (ไม่จ่ายปันผล) สำหรับบุคคลทั่วไปขึ้นมาด้วยครับ ซึ่งแนวทางการวิเคราะห์โดยใช้หลัก ESG เป็นดังนี้ครับ

 

แนวทางการวิเคราะห์โดยใช้หลัก ESG

การคัดเลือกหุ้นโดยใช้หลัก ESG แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน

  1. Initial Screening – เริ่มจากแนวทางของ กองทุนธรรมาภิบาลไทยโดยจะคัดเลือกหุ้นที่ได้รับการประเมิน 4 ดาว จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ซึ่งมีประมาณ 275 บริษัท โดยทาง IOD จะตรวจสอบและปรับปรุงเป็นรายเดือน จากนั้นบริษัทที่จะลงทุนต้องได้การรับรองเป็นสมาชิกของแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (CAC) ซึ่งมีประมาณ 120 บริษัท นับว่าเป็นการคัดกรองแบบพื้นฐานโดยใช้ Governance (G) เป็นหลัก หลังจากนั้นอาจใช้ Environment (E) และ Social (S) ในการคัดกรองเพิ่มเติมอีกครั้ง
  2. Stock Analysis – หลังจากได้กลุ่มหุ้นที่มี ESG ดีแล้วจะทำการวิเคราะห์เชิงลึก เช่น ปัจจัยพื้นฐาน ความสามารถในการสร้างกำไรในอนาคต สภาพคล่องของบริษัท และมักจะเข้าพบผู้บริหารเพื่อได้พูดคุยถึงมุมมองในอนาคตและกลยุทธ์ที่จะทำให้กิจการเจริญเติบโต
  3. Valuation – หุ้นบางตัวอาจมีครบทั้ง ESG แต่มีราคาสูงเกินมูลค่าที่แท้จริง อันนี้ต้องค่อย ๆ ตัดออกนะครับ
  4. Universe – มาถึงขั้นตอนสุดท้ายจะได้หุ้นที่อยู่ใน universe การลงทุนประมาณ 40-50 บริษัท ซึ่งการเลือกลงทุนจริงอาจเหลือเพียงประมาณ 25 บริษัท

 

นอกจากจะได้รายชื่อบริษัทที่ทำธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนแล้ว การยึดหลัก ESG ยังส่งผลดีอยู่หลายอย่างครับ เช่น ความผันผวนที่ลดลง ความเสี่ยงที่ต่ำลง และผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ

หลัก ESG – ทำให้ความเสี่ยง และความผันผวนลดลงได้อย่างไร?

ตามที่เราได้ร่ำเรียนกันมา ถ้าต้องการให้ความผันผวนหรือ Volatility ของพอร์ตลงทุนลดลงจะต้องเลือกลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนของราคาในอดีตต่ำ ๆ ซึ่งก็จริงครับ แต่ที่เพิ่มมาคือหลักของ ESG จะทำให้บริษัทที่เราเลือกลงทุนมีโอกาส ‘เกิดข่าวในเชิงลบน้อยลง’

โดยความเสี่ยงของการลงทุนในหุ้นมีอยู่ 2 ชนิดคือ ความเสี่ยงที่เกิดจากตลาด (Systematic Risk) เอง ที่สามารถลดลงได้ด้วยการกระจายการลงทุนไปในหลาย ๆ หุ้น และความเสี่ยงอีกชนิดคือความเสี่ยงเฉพาะของหุ้น (non-systematic risk) ซึ่งความเสี่ยงเฉพาะตัวของหุ้นนี่แหละครับเป็นสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ให้มาก ๆ และหนึ่งในนั้นก็คือเรื่อง ESG นี่ล่ะครับ ถ้าบริษัทที่ใส่ใจเรื่อง ESG เป็นอย่างดีแล้ว โอกาสเจ็บตัวหนัก ๆ จะน้อยลงไปเยอะแน่นอน

หลัก ESG – ช่วยสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอได้อย่างไร?

การคัดเลือกหุ้นโดยใช้หลัก ESG สามารถช่วยให้ผลตอบแทนของพอร์ตลงทุนมีความสม่ำเสมอมากขึ้น (ไม่ได้แปลว่าจะได้ผลตอบแทนมากขึ้นนะครับ) เนื่องจากโอกาสในการเกิดเหตุสุดวิสัยต่าง ๆ ลดลง ที่เราเรียกว่า “กำไรมีคุณภาพ”

ถ้าลองวิเคราะห์ผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน TISESG-D จากเว็บ บลจ. ทิสโก้ นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 14.80% ต่อปี จะพบว่ามากกว่าดัชนีชี้วัดของกองทุนที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 11.47%  ต่อปี และผลตอบแทนย้อนหลังระยะ 1 ปี 6 เดือน และ 3 เดือนอยู่ที่ 18.17% , 3.10% และ -1.98% เมื่อเทียบกับดัชนีชี้วัดของกองทุนซึ่งอยู่ที่ 17.10% , 5.04% และ -1.21% ตามลำดับ (ดัชนีชี้วัดของกองทุนใช้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) และมีการเปลี่ยนแปลงเป็นดัชนีผลตอบแทนรวมตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET TRI) เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560)

ที่มา: Bloomberg

ทีนี้ผมขออธิบายโดยยกตัวอย่างภาพจาก Bloomberg แบบนี้นะครับ จะเห็นได้ว่าเวลาหุ้นลง TISESG-D ก็ลงเช่นกัน และเวลาหุ้นขึ้น TISESG-D ก็ปรับตัวขึ้นเช่นกัน การลงทุนโดยใช้หลัก ESG ไม่ได้เป็นหลักที่เป็นการรับประกันว่าจะไม่ขาดทุน แต่หลัก ESG ช่วยให้พอร์ตลงทุนมีความผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้นครับ และที่สำคัญถ้าดูจากกราฟจะพบว่า TISESG-D ชนะ SET TRI อยู่ 5.51% โดยกองทุนมีผลตอบแทนนับแต่จัดตั้งกองทุน (21 ต.ค. 58) อยู่ที่ 41.78% สูงกว่า SET TRI (ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยที่รวมเงินปันผล) ให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 36.27%  ซึ่งผลตอบแทนที่ทำได้ยอดเยี่ยมที่ผ่านมานั้นเกิดจาก 2 ส่วนสำคัญคือการใช้หลัก ESG ในการลงทุน และทีมงานผู้จัดการกองทุนคุณภาพ จากบลจ.ทิสโก้นั่นเอง

 

แล้วการใช้หลัก ESG ในการวิเคราะห์มีความเสี่ยงหรือไม่?

การเพิ่มหลัก ESG มาเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ทำให้ความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตลงทุนลดลงได้ แต่ในอีกมุมหนึ่ง หุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีอยู่ประมาณ 600 ตัว (https://www.set.or.th/set/marketstatistics.do) การเพิ่มหลัก ESG ทำให้ universe ของหุ้นที่สามารถลงทุนได้ลดลงเหลือเพียงประมาณ 50 ตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องแลกกับความเสี่ยงที่ลดลงของพอร์ตลงทุนครับ

 

ส่งท้าย…

นักลงทุนควรให้ความสำคัญกับหลัก ESG ของบริษัทที่จะลงทุนด้วย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงหุ้นปั่นต่าง ๆ และลดความเสี่ยงจากความผันผวนโดยรวมของพอร์ตลงทุน  ผมเชื่อว่าทางเลือกนี้นับเป็นการลงทุนที่น่าสนใจและใช้เป็นแกนหลักสำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในหุ้นไทย รวมไปถึงหุ้นต่างประเทศได้เช่นกันครับ สำหรับผู้ที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสนใจลงทุนในกองทุน TISESG สามารถติดต่อได้โดยตรงที่บลจ.ทิสโก้ 02-633-6000 กด 4 http://tisesg.tisco.live  ครับ

อย่าลืมนะครับว่าการลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยง ผมสนับสนุนให้ลงทุนในสิ่งที่เรารู้จริงอย่าใช้ “หู” ลงทุน นักลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะ ข้อจำกัดเงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และรายละเอียดอื่น ๆ ของกองทุนให้เข้าใจเป็นอย่างดีก่อนลงทุน อีกอย่างผลตอบแทนที่ผมยกขึ้นมาให้ดูเป็นผลตอบแทนในอดีต ซึ่งเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว ไม่ได้เป็นการรับประกันใด ๆ ว่าผลตอบแทนในอนาคตจะเป็นเหมือนในอดีตนะครับ

 

โชคดีกับการลงทุนครับ

FundTalk รายงาน

 

 

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
เจษฎา สุขทิศ, CFA ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร FINNOMENA & นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย คุณเจษฎา เคยปฏิบัติงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล และเคยร่วมงานเป็นผู้จัดการกองทุนกับกลุ่ม เจพี มอร์แกน, ไทยพาณิชย์ และยูโอบี นอกจากนี้ ในปัจจุบัน คุณเจษฎา รับหน้าที่เป็นวิทยากรด้านการเงิน และฟินเทค ให้กับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ คุณเจษฎา เคยได้รับรางวัลนักเศรษฐศาสตร์ดาวรุ่งจากสมาคมเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, รางวัล Most Astute Investor จากนิตยสาร The Asset และรางวัล Morningstar Fund Award
Posts created 106

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top