EconomicTalk – Emerging Markets ตัวเลือกแรกของการลงทุนในต่างประเทศ

แชร์บทความนี้

ตลอดสามปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศมีความแตกต่างกันมากในแต่ละภูมิภาค โดยกลุ่มตลาดเกิดใหม่ทั้งในส่วนของเอเชียและละตินอเมริกาให้ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นที่สูงกว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญ ดังเห็นได้จากผลตอบแทนในเชิงเปรียบเทียบย้อนหลังสามปีระหว่างดัชนี MSCI EM Latin America, ดัชนี MSCI AC Asia Pacific ex Japan, ดัชนี S&P 500 และดัชนี MSCI Europe ที่พบว่าการลงทุนในตลาดหุ้นละตินอเมริกามีผลตอบแทนที่ดีกว่าการลงทุนในตลาดหุ้น S&P 500 ของสหรัฐอเมริกาและตลาดหุ้นยุโรปถึงร้อยละ 34 และ 38 ตามลำดับ ในทำนองเดียวกัน ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียแปซิฟิกไม่รวมญี่ปุ่นสูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้น S&P 500 ของสหรัฐอเมริกาและตลาดหุ้นยุโรปร้อยละ 15 และ 19 ตามลำดับ

ปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ตลาดเกิดใหม่มีผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วมีสองประการคือ (1). อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นของกลุ่มตลาดเกิดใหม่เมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่ต่ำของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤตสินเชื่อซับไพรม์และวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป นอกจากนี้ การขาดดุลทางการคลังที่มากเป็นประวัติการณ์และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง Quantitative Easing ยังส่งผลให้ค่าเงิน USD และ EUR อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินของตลาดเกิดใหม่

ตลาดเกิดใหม่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง

ที่มา: Morgan Stanley Research

(2). มูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานของตลาดเกิดใหม่มีความน่าสนใจเมื่อเทียบกับตลาดที่ พัฒนาแล้ว โดยอัตราส่วนสำคัญที่ใช้ประกอบการพิจารณาคืออัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อ หุ้น (P/E), อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS Growth) และอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return on equity) ซึ่งถึงแม้ว่าราคาหุ้นของตลาดเกิดใหม่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าตลาดที่ พัฒนาแล้วอย่างมีนัยสำคัญ แต่อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้นของตลาดเกิดใหม่ยังอยู่ในระดับเดียวกัน กับตลาดที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้ ตลาดเกิดใหม่ยังมีความโดดเด่นด้านอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นและ อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิต่อหุ้นที่อยู่ในระดับสูง

ROE ของตลาดเกิดใหม่อยู่ในระดับสูงในขณะที่ P/E และ EPS Growth ใกล้เคียงกับตลาดที่พัฒนาแล้ว

ที่มา: Deutsche Bank, I/B/E/S, MSCI

ด้วยการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพและมูลค่าหุ้นตามปัจจัยพื้นฐานที่น่าสนใจประกอบกับค่าเงินที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นของตลาดเกิดใหม่ จึงคาดว่าตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียและละตินอเมริกาจะเป็นเป้าหมายหลักสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นของนักลงทุนทั่วโลกและให้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีกว่าตลาดที่พัฒนาแล้วในช่วงสิบสองเดือนข้างหน้า

Facebook Comments

แชร์บทความนี้
ฑิฆัมพร วิชัยธรรมธร, CFA สำเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาตรีสาขาบริหารการตลาดจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง จากนั้นได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2549 คุณฑิฆัมพรเริ่มต้นการทำงานในสายงานการเงินเมื่อปี พ.ศ. 2549 ที่ฝ่ายบริหารเงิน ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการบริหารกลยุทธ์สินทรัพย์และหนี้สิน จากนั้นจึงได้รับโอกาสให้บริหารพอร์ตการลงทุนของธนาคารในตำแหน่งผู้ช่วยผู้ จัดการการลงทุนและผู้จัดการการลงทุนในลำดับถัดมา ต่อมาในพ.ศ. 2552 คุณฑิฆัมพรได้เข้าสู่ธุรกิจจัดการกองทุนที่ บลจ.ทิสโก้ ในตำแหน่งผู้จัดการกองทุน และได้ร่วมงานด้านการบริหารพอร์ตตราสารหนี้ที่บลจ. อยุธยาตั้งแต่พ.ศ. 2554 จนถึงปัจจุบัน คุณฑิฆัมพรมีประสบการณ์บริหารจัดการกองทุนตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งธุรกิจกองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนส่วนบุคคล ปัจจุบันคุณฑิฆัมพรใช้เวลาว่างจากการทำงานในการเขียนบทความด้านการลงทุน
Posts created 4

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top