Hedge Fund คืออะไร
หลายๆคนคงเคยได้ยินคำว่า Hedge Fund และสงสัยว่าจริงๆแล้วคืออะไรกันแน่ และเค้าเหล่านั้นลงทุนในอะไรบ้าง วันนี้เลยอยากมาคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้นะคะ (ข้อมูลส่วนใหญ่ขออ้างอิงถึง Hedge Fund ในอเมริกานะคะ)
Hedge (verb) หมายถึงการป้องกันความเสี่ยง เช่น hedge currency, hedge idiosyncratic risk
ในขณะที่ Hedge Fund (noun) คือ กองทุนทางเลือกที่มีความเสี่ยงมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดในการลงทุนน้อย ถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์ต่างๆน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกองทุนรวมทั่วๆไป (Mutual Fund)
Hedge Fund ส่วนใหญ่จะไม่เปิดเผยข้อมูลการลงทุนหรือสินทรัพย์ที่ถือ สู่สาธารณชนทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้ลงทุนในกองทุนนั้น เนื่องจากอาจทำให้เสียความสามารถทางการแข่งขัน (competitive advantage) (ยกเว้น Activist managers)
ผลตอบแทนของผู้จัดการกองทุนขึ้นอยู่กับผลการลงทุน (Performance-based fees) ผู้จัดการ Hedge Fund มักจะลงทุนในกองทุนของตัวเองด้วยเพื่อให้นักลงทุนเห็นว่า แรงจูงใจของผู้จัดการกองทุนและนักลงทุนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (alignment of interests) และเพื่อให้ผู้จัดการกองทุนไม่เสี่ยงมากเกินไปค่ะ
ค่าธรรมเนียมที่ผู้จัดการกองทุนจะได้รับมักเรียกว่า 2/20 (two twenty) คือค่าบริหารกองทุน (management fee) ที่ 2% ต่อปีของเงินลงทุนของนักลงทุน และ 20% ของกำไรทั้งหมดที่เกินจาก hurdle rate (ส่วนมากอยู่ที่ 7-10%) ซึ่งเรียกว่า incentive fee
นักลงทุนที่สามารถลงทุนใน Hedge Fund ในอเมริกาได้จะต้องมีมูลค่าสินทรัพย์รวม (หักลบหนี้) (net worth) มากกว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐ (accredited investors)
แต่ไม่ใช่ว่าถ้าเรามีเงินแล้วอยากจะเอาเงินไปลงทุนกับใครก็ได้นะคะ เพราะว่า Hedge Fund ระดับต้นๆของวงการแทบจะไม่รับนักลงทุนใหม่เลย เพราะว่าทางกองทุนได้รับความสนใจมาก (oversubscribed) ส่วนใหญ่คือต้องมี connection หรือลงทุนในกองทุนก่อนหน้านี้มาแล้ว เนื่องจากผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ไม่ต้องการให้ขนาดของกองทุนใหญ่เกิน strategy capacity ซึ่งอาจส่งผลให้ผลการลงทุนไม่ดีเท่าที่ควร
มาดูกันว่า Hedge Fund มีทั้งหมดกี่ประเภทนะคะ แล้วเค้ามีกลยุทธ์ในการลงทุนยังไงกันบ้าง
1. Macro
– Hedge Fund ประเภทนี้ เน้นที่มองภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจ (top-down approach) มักลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภท โดยพยายามจะทำกำไรจาก inefficiencies ในสินทรัพย์ หรือsector หรือในประเทศต่างๆ มากกว่าที่จะวิเคราะห์สินทรัพย์เป็นรายตัว กองทุนประเภทนี้จะมีสภาพคล่องมากกว่ากองทุนประเภทอื่น และสามารถสร้างกองทุนใหญ่ๆได้ (greater capacity) ผู้จัดการกองทุนประเภทนี้มักตัดสินใจในการลงทุนบนพื้นฐานของ fundamental analysis เรียกว่า discretionary trading2. Managed Futures
– Hedge Fund ประเภทนี้จะคล้ายคลึงกับ Macro ทางด้าน เน้นที่การมองที่ภาพรวมเศรษฐกิจ แต่จะแตกต่างตรงที่ manage futures fund ใช้ technical analysis และจะเก็งกำไรในตลาดตราสารล่วงหน้า การตัดสินใจต่างๆขึ้นอยู่กับผลของ financial models เรียกว่า systematic trading หรือ black box trading3. Event-driven
– ผู้จัดการ Hedge Fund ประเภทนี้ พยายามที่จะทำกำไรจาก เหตุการณ์พิเศษที่จะเกิดขึ้น (catalyst) และราคาสินทรัพย์ในตลาดยังไม่ปรับมูลค่าตามเหตุการณ์นั้น ผู้จัดการกองทุนประเภทนี้จะเน้นการวิเคราะห์สินทรัพย์เป็นรายตัว (bottom-up approach) สำหรับ strategy นี้สามารถแบ่งเป็น sub-strategy ได้อีกคือ
A. Activist ผู้จัดการกองทุนประเภทนี้จะ proactive มากกว่าผู้จัดการกองทุนประเภทอื่นๆ Activist ต้องการที่จะมีอำนาจในการตัดสินใจในบริษัทที่ตนไปลงทุน แล้วจะผลักดันให้บริษัทเหล่านั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการกระตุ้นให้เกิด merger & acquisition กับบริษัทอื่น Activist ส่วนมากจะใช้สื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างผลลัพธ์ทางการลงทุนที่ตัวเองต้องการB. Distressed Fund ผู้จัดการกองทุนประเภทนี้ จะเน้นการลงทุนในบริษัทที่ประสบปัญหา โดยมีความสามารถในการ turnaround บริษัท หรือการจัดการทางด้านหนี้สิน กองทุนประเภทนี้จะมีสภาพคล่องต่ำเนื่องจากระยะเวลาในการช่วยบริษัทที่ประสบปัญหา เฉลี่ยอยู่ที่ 12-18 เดือน
C. Merger Arbitrage ผู้จัดการกองทุนประเภทนี้จะเน้นการลงทุนในการรวมตัวของบริษัทโดยการ ซื้อหุ้นของ target company และ short หุ้นของ acquirer กองทุนประเภทนี้มักประสบความสำเร็จในตลาดขาขึ้น และมักขาดทุนในช่วงตลาดขาลง
4. Relative Value
– Hedge Fund ประเภทนี้ สร้าง alpha โดยการมองหาสินทรัพยที่มีความเสี่ยงคล้ายๆกันแต่ราคาต่างกัน โดยจะซื้อสินทรัพย์ที่มีราคาถูกเกินกว่ามูลค่าจริง (long undervalued securities) และ short ขายสินทรัพย์ที่มีราคาแพงกว่ามูลค่าจริง (short overvalued securities) โดยไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงมากเนื่องจาก natural hedge ของสินทรัพย์ที่ถือ long and short กองทุนประเภทนี้จะกู้ยืมเงินเพื่อมาลงทุนสูงเนื่องจาก spread ที่ได้จากกการเทรดไม่สูงมากนัก (use leverage to enhance return) กองทุนประเภทนี้จะให้ผลตอบแทนดีในตลาดที่มีการผันผวนต่ำ แต่เนื่องจากการใช้ leverage สูงทำให้ประสบปัญหาขาดทุนมากในกรณีที่ผลลงทุนไม่เป็นตามที่คาดการณ์ Hedge Fund ประเภทนี้สามารถแบ่งเป็น sub-strategyย่อยๆได้อีกตามสินทรัพย์ที่ผู้จัดการกองทุนลงทุน เช่น Convertible bond arbitrage, Volatility arbitrage และ Fixed income arbitrage5. Equity
– Equity Hedge Fund มีขนาดประมาณ 30% ของ Hedge Fund ทั้งหมด ถึงขนาดของแต่ละ fund จะมีขนาดเล็ก จำนวนนของกองทุนประเภทนี้มีเยอะที่สุดในตลาด เนื่องจากมีหลักการลงทุนที่ไม่ซับซ้อนนักค่ะ และยังเป็น Hedge Fund ที่ให้สภาพคล่องสูงเนื่องจากลงทุนเฉพาะตราสารทุนที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดหลักทรัพย์ โดยสามารถแบ่ง Hedge Fund ประเภทนี้ เป็น sub-strategy ได้ดังนี้A. Equity Long/Short กองทุนเหล่านี้มักจะมี positive net exposure ต่อตลาดหุ้น (มี long positions มากกว่า short positions)
B. Equity Market Neutral กองทุนประเภทนี้พยายามที่จะให้ผลตอบแทนการลงทุนไม่ขึ้นอยู่กับตลาด แต่ขึ้นอยู่กับการเลือกหุ้นล้วนๆทั้งทาง long และ short (Beta = 0 and Positive Alpha)
C. Short-bias Equity กองทุนประเภทนี้จะเน้น short มากกว่า long และจะได้ผลตอบแทนดีในช่วงตลาดขาลง
6. Multi-strategy and Funds of Funds
– Multi-strategy Hedge Fund คือกองทุนที่มีผู้จัดการกองทุนหลายคนแบ่งการลงทุนตาม strategy ต่างๆ หรือตาม sector หรือตามภูมิภาค กองทุนประเภทนี้บางกองอาจมีผู้จัดการกองทุนถึง 100-200 คนเลยทีเดียว ในระยะยาวกองทุนประเภทนี้ให้ผลตอบแทนดีกว่ากองทุนประเภทอื่นๆ เนื่องจากการกระจายความเสี่ยงและการบริหารจัดการ risk budget สามารถยืดหยุ่นได้กับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไปFund of Hedge Funds
มีส่วนคล้ายคลึงกับ Multi-strategy Hedge Fund ในเรื่องการกระจายความเสี่ยง เนื่องจากผู้จัดการกองทุนจะไปเลือกลงทุนใน Hedge Fund อื่นอีกที ผู้ลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่สามารถลงทุนใน Hedge Fund ระดับต้นๆของวงการได้ก็มักจะเริ่มลงทุนใน Hedge Fund ประเภทนี้ แต่นักลงทุนจะต้องเผชิญกับค่าธรรมเนียม 2 ขั้น (extra layer of fees) ที่ต้องจ่ายให้ผู้จัดการกองทุนประเภทนี้ทั้ง management fee และ incentive feeจะเห็นได้ว่าการที่แต่ละ Hedge Fund ลงทุนแบบเสี่ยงมากเนื่องจากผลตอบแทนของผู้จัดการกองทุนไม่สมมาตรนะคะ (Asymmetric Payoff) ซึ่งถ้าหากผู้จัดการกองทุนสามารถทำกำไรให้ผู้ลงทุนได้เกิน hurdle rate ก็สามารถแชร์กำไรนั้นได้ถึง 20% เลยทีเดียว แต่ผู้จัดการกองทุนกลับไม่ต้องเสียอะไรถ้าประสบผลขาดทุน เพราะแบบนี้เราเลยเห็นได้ว่า Hedge Fund แต่ละกอง ลงทุนกันแบบเสี่ยงมากๆ เนื่องจากโครงสร้างทางผลตอบแทนนี่เองค่ะ
หวังว่าข้อมูลเกี่ยวกับ Hedge Fund นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะคะและหวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยของเราจะอนุญาตให้มี Hedge Fund ได้เหมือนประเทศอื่นๆค่ะ
เขียนโดย Finance Geek
ข้อมูลอ้างอิง CAIA Curriculum
ทำความรู้จักกับ Hedge Fund
Facebook Comments