ช่วง ปี 2005-2008 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเงินและการลงทุนอย่ในสภาวะแห่งการเติบโต (Growth phase) อย่างก้าวกระโดด นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีความซับซ้อนมากขึ้นอย่างที่ Risk manager ตามไม่ทัน โครงสร้างของผลตอบแทนสามารถ link กับ อัตราดอกเบี้ย, Credits, Commodities หรือ FX ซึ่งเราเรียกว่าเป็น “สินทรัพย์อ้างอิง (Underlying asset)”
Underlying asset เหล่านี้จะถูกนำไปใช้ผ่านธุรกรรมประเภท Derivatives ในรูปแบบต่างๆ เช่น Collateralized Debt Obligations (CDO), Mortgage-Backed Securities (MBS), Digital Options, Interest Rate Swap, Credit Default Swap (CDS), Leveraged notes ที่โครงสร้างของผลตอบแทน (Pay-off) ผูกกับ หุ้น หรือ Risky assets อื่นๆ ได้ และจากเหตุการณ์เดือน ก.ย. 2008 หรือ Lehman Crisis นั้น เราต้องยอมรับว่าปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งต่อการล่มสลายของ Lehman นั้นก็คือ “LEVERAGE” ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลักของ Derivatives นั่นเอง เพื่อให้เข้าใจความหมายของคำว่า “Leverage” ที่ชัดเจนขึ้น ขออนุญาตยกตัวอย่างดังนี้ครับ
ทางเลือกที่ 1 ลงทุน 10 ล้านบาทในหุ้น LEH คาดว่าผลตอบแทนจากการ คือ +500,000 บาท ในเวลา 3 เดือน (คิดเป็น 5% return)
ทางเลือกที่ 2 ลงทุน 2 ล้านบาทใน Derivatives ซึ่ง link กับ LEH คาดว่าผลตอบแทนจากการ คือ +500,000 บาทเช่นกัน (คิดเป็น 25% return)
ทางเลือกที่ 3 วางเงินสด 5 ล้านบาท และ “กู้” อีก 5 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้น LEH จำนวน 10 ล้านบาท คาดว่าผลตอบแทนคือ +500,000 บาท เช่นกัน (คิดเป็น 10% return)
สังเกต ว่า ทั้ง 3 ทางเลือก มีประมาณการผลตอบแทนเท่ากันคือ +500,000 บาท แต่ ทางเลือกที่ 2 ใช้เงินลงทุนน้อยที่สุด (2 ล้านบาท) ถัดมาคือ ทางเลือกที่ 3 ซึ่งใช้เงินลงทุน 5 ล้านบาท และหากคิดเป็น % Return แล้ว พบว่าทางเลือกที่ 2 ให้ผลตอบแทนสูงถึง 25% ในขณะที่การลงทุนโดยไม่มี LEVERAGE (ทางเลือกที่ 1) ให้ผลตอบแทนเพียง 5% …. นี่แหล่ะครับคือ ผลของการใช้ “LEVERAGE”
เรา สามารถสร้างสภาวะ “Leverage” ผ่าน “การใช้ Derivatives” และ/หรือ “การกู้” ก็ได้ครับ ซึ่งทั้ง 2 กรณีใช้เงินลงทุนที่ต่ำแต่ทำให้ผู้ลงทุนมี Exposure ต่อราคาสินทรัพย์สูง
1) “OPTIONS” เป็นอนุพันธ์ (Derivatives) ประเภทหนึ่งที่ให้สิทธิ์ผู้ถือครองในการนำไปแปลงสภาพเป็นสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying asset) ภายใต้เงื่อนไขด้านเวลา (Time to maturity) และจำนวนเงินที่ต้องชำระ เพื่อใช้สิทธิ์ในการแปลงเป็น Underlying asset นั้นๆ (Exercise price) ….การเปลี่ยนแปลงของราคา Option นอกจากจะขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงของ 4-5 ตัวแปรดังกล่าวแล้ว ยังมีอีก 1 ตัวแปรที่ใหม่คือ “ความผันผวน หรือ VOLATILITY ของ สินทรัพย์อ้างอิง” อีกด้วย
2) “WARRANT” เป็น Option ประเภทหนึ่งที่มีสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying asset) เป็น “หุ้น” ครับ โดยกลไกราคาของ Warrant ก็เหมือนกับของ Option นั่นเอง ในกรณีของ Warrant นั้น บริษัทจะเป็นผู้ออกเสนอขาย Warrant เอง เช่น บริษัท Minor International Plc. (MINT) ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนใน SET เสนอขายWarrant (MINT-W4) ของ บริษัทตนเองโดยจัดสรรให้ตามส่วนของผู้ถือครองหุ้นแม่ (หุ้น MINT) ราคาของ MINT-W4 ก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามราคา SPOT ของ หุ้นในตลาด ในการนี้ MINT เองจะต้องทำการ Set aside หุ้นของตนเองไว้เพื่อรองรับการใช้สิทธิ์ของผู้ถือ Warrant ด้วย
3) “DERIVATIVE WARRANT (DW)” มีลักษณะคล้ายกับ Warrant ดังใน ข้อ (2) จะแตกต่างกันก็เพียง 2-3 ประเด็นคือ (1) บริษัทผู้ออกเสนอขาย ซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 เช่น Morgan Stanley ทำการออก Derivatives warrant ซึ่ง link กับ PTT หรือ SCC (2) ประเด็นภาษีหากทำการ exercise เมื่อครบอายุ (3) Counterparty risk เนื่องจากการ exercise สิทธิ์เป็นการกระทำกับ broker ที่เสนอขาย Call หรือ Put นั้นๆ จึงมีความเสี่ยงจากคู่สัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง
การที่ Broker ออกเสนอขาย DW นั้นอาจมาจากหลายสาเหตุครับ
3.1. ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการ Hedge proprietary trading port ของตนเอง บริษัทหลักทรัพย์หลายแห่ง มี port การลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ถึง 3,000 ล้านหรืออาจสูงถึง 10,000 ล้านบาท การออก DW เอื้อให้ บล. นั้นสามารถ Lock-in profits ผ่านการตั้ง Target ราคาหุ้นในแต่ละตัว
3.2 ต่อเนื่องจากข้อ (1) การ Write CALL options หรือ Write PUT options นั้น ทำให้ บล. ได้รับ premium อีกด้วย โดยในแต่ละช่วงราคาของสินทรัพย์หลัก (หรือราคาหุ้นแม่) นั้น ความน่าจะเป็นของการที่ DW จะถูก Exercise เปลี่ยนแปลงไปตาม degree ของความ In-The-Money (คือการที่ราคา Underlying > Exercise price) บล. จะทำ “Dynamic hedge” ผ่าน Delta หรือ N (d1) ในสมการข้างล่างนี้ครับ
Option price = S * N (d1) – X * N (d2)
หมายเหตุ: สมการ Black Scholes model เป็นการทำ Simulation บน Binomial option pricing model (Cox Ross Rubinstein) นั่นเอง
การ ที่ราคาปิดวันที่ 7 ต.ค.ของ PTT13CB (DW: Call option) ปรับลดลง -38.46% ในขณะที่ราคาหุ้นแม่ PTT ลดลงเพียง -0.66% นั้น ชี้ให้เห็นว่าความเข้าใจของนักลงทุนในตลาดรวมถึงกลไกของตลาดยังไม่ดีพอ Derivatives ทุกประเภทเป็นธุรกรรมที่ใช้ประโยชน์จาก LEVERAGE ซึ่งในวงจรเศรษฐกิจ/ราคา ขาขึ้นนั้น การมี LEVERAGE เป็นที่มาของผลตอบแทนอันสูงส่ง แต่ในขาลง Leverage สามารถให้ผลกระทบที่รุนแรงได้เช่นกัน นักลงทุนต้องศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนทำการลงทุนใน Derivatives ทุกประเภทครับ